Rangeroverhouses.com Forum

Range Rover House => กลุ่มคนรักษ์เร้นจ์ Range Rover Mania => ข้อความที่เริ่มโดย: Webmaster ที่ มกราคม 19, 2009, 01:48:19 PM



หัวข้อ: RANGEROVER P38 (1995-2001) TOP TEN SERIOUS CASES
เริ่มหัวข้อโดย: Webmaster ที่ มกราคม 19, 2009, 01:48:19 PM
ในที่นี้จะมาคุยกันถึงเรื่องที่ควรระวังเป็นพิเศษกับนังอ้วนของเรา และวิธีการแก้ไขอย่างถูกต้องเพื่อให้ท่านได้ใช้นังอ้วนอย่างสบายใจ เพราะถ้าจะรออ่านจาก กระทู้ 108 1009 อาจจะช้าไปเลยต้องรวบรวมมาไว้ ในที่นี้น่าจะดีกว่า เพราะรวมทุกระบบมาอยู่ด้วยกัน จัดอันดับ TOP TEN ให้เลยรับรองมันหยดติ๋งแน่ ถ้าจะให้สนุกเราจะจัดจากอันดับที่ 10 ลงไปหาอันดับที่ 1 นะครับ คงจะใช้เวลาเขียนไม่กี่วันอดใจรอนิดนึงนะครับจะรีบเขียนให้เร็วที่สุด

อันดับที่ 10 ประจำสัปดาห์นี้ได้แก่เอ๊ยไม่ใช่  ขอต่อเลยละกัน เกียร์จเมน เกียร์พ่วง และเฟืองท้ายหน้าหลังมีเสียงดัง หอน กระตุก เป็นปัญหาใหญ่สำหรับนังอ้วนที่ถูกใช้งานมานานปีแต่ไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้องจะด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่มันก็เป็นปัญหาที่ทำให้เจ้าของรถเครียดได้ เพราะทุกครั้งที่รถวิ่งด้วยความเร็วสูงเจ้าเสียงพวกนี้ก็จะดังรบกวนท่าน บางครั้งดังมากกว่าวิทยุที่เปิดอยู่เสียอีก บางท่านก็ซ่อมแล้วแต่ว่าไม่หายทำให้ไม่อยากใช้รถและก็ขายทิ้งออกมาในที่สุด ดังนั้นควรดูแลรักษาอย่างถูกต้อง

น้ำมันเกียร์เมนเปลี่ยนถ่ายทุก ๆ ระยะ 20000 กม. น้ำมันที่ใช้ automatic transmission fluid  DEXON 3  ปริมาณที่ใช้ในแต่ละครั้ง 11 ลิตรในกรณีที่ใช้เครื่องดูดน้ำมันออกหมดทั้งระบบ แต่ถ้าถ่ายทิ้งอย่างเดียวให้ใช้แค่  5  ลิตรเท่านั้น สำหรับกรองน้ำมันเกียร์ให้เปลี่ยนทุก ๆ 40000 กม
น้ำมันเกียร์พ่วง เปลี่ยนถ่ายทุก ๆ 20000 กม  น้ำมันที่ใช้  automatic transmission fluid DEXON 3 ปริมาณที่ใช้  2.4 ลิตร ห้ามใช้น้ำมันอื่นที่มีความหนืดมากกว่านี้ เพราะจะทำให้ปั้มน้ำมันไม่สามารถปั้มน้ำมันได้ และเกียร์ก็จะพังในที่สุด อย่าลืมว่าภายในเกียร์พ่วงของเราไม่ได้ใช้เฟืองขบเฟืองแต่ของเราใช้โซ่เป็นตัวส่งกำลังดังนั้นถ้าใช้น้ำมันผิดประเภทแล้วจะทำให้เกียร์ดังและหอนได้สุดท้ายก็พัง
น้ำมันเฟืองท้ายหน้า หลัง ให้ใช้น้ำมันเกียร์ เบอร์ 90 ปริมาณที่ใช้ 1.7 ลิตร x  2




หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: Webmaster ที่ มกราคม 19, 2009, 01:49:16 PM
อันดับที่ 9 abs pump and accumulator
ปัญหานี้ก็เป็นปัญหาใหญ่เหมือนกันถ้าระบบเบรคไม่ทำงานก็ทำให้รถหยุดไม่ได้ต้องพึ่งพาอาศัยบั้นท้ายรถคันอื่นหรือเสาไฟฟ้าเพื่อให้รถหยุดได้ แต่ถ้าท่านได้ดูแลเจ้า abs pump กับเจ้า accumulator ให้ดีอย่างถูกต้องทั้งวิธีการใช้งานและการดูแลรักษาปัญหานี้ก็จะไม่เกิดขึ้น ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ ปั้มไม่ทำงาน และเจ้าตัว accumulator หรือแปลเป็นไทยง่าย ๆ ว่าเจ้าตัวควบคุมกำลังดันน้ำมันเบรคนั่นเอง ในตัวของเจ้า accumulator  ตัวนี้ภายในบรรจุด้วยก๊าซไนโตรเจนถ้าถูกใช้งานไปนานนานเข้าก๊าซภายในก็จะเริ่มลดน้อยลงเรื่อย ๆ ทำให้เจ้าตัวนี้หมดสภาพไปในที่สุด ในบางรุ่นสามารถนำมาเติมก๊าซแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่เจ้าตัวนี้ไม่สามารถครับ ดังนั้นเวลาเสียก็ต้องทิ้งเลยตัวนึงก็หลักหมื่นครับ ส่วนเจ้าตัว abs pump ตัวหนึ่งตกประมาณ 80000 บาท (ราคารวม accumulator) เจ้าสองตัวนี้จะอยู่ในระบบ abs ดังนั้นจึงมีความสำคัญมาก เจ้าตัวควบคุมแรงดันน้ำมันเบรคจะมีความสำคัญมากกว่าเพราะว่าจะเป็นตัวควบคุมกำลังดันน้ำมันเบรค ถ้าเป็นของใหม่ให้สังเกตุว่าเวลาเหยียบเบรคประมาณ 3 - 4 ครั้งปั้ม abs ถึงจะทำงาน 1 ครั้ง แต่ถ้าตัวควบคุมแรงดันตัวนี้เสื่อมสภาพ สังเกตุได้ง่าย ๆ ว่าเหยียบเบรคทุกครั้งปั้มจะทำงานทุกครั้งและไฟที่หน้าปัทม์ในระบบ abs จะโชว์ทุกครั้งทื่เหยียบเบรค ยกตัวอย่างง่าย ๆ ว่าถ้าเราขับรถบนถนนในเมืองที่มีการจราจรหนาแน่น รถจะค่อย ๆ ขยับไปเรื่อย ๆ เราต้องเลื่อนรถและเหยียบเบรคอยู่เรื่อย ในความถี่ที่เราเหยียบเบรคนี้เองที่ทำให้ปั้มเบรคชำรุดเสียหายได้ ก็เนื่องมาจากความร้อนสะสมในตัวของปั้มเอง จากนั้นปั้มก็จะไหม้  ถ้า accumulator ดีปั้มก็จะทำงานน้อยลง คือ  สมมุติว่าเราเหยียบเบรค  40000 ครั้ง abs pump จะทำงานเพียง 10000 ครั้งเท่านั้น แต่ถ้า accumulator ไม่ดี เหยียบเบรค 40000 ครั้ง  ปั้ม abs ก็จะทำงาน 40000 ครั้งเช่นกัน ทำให้อายุการใช้งานของเจ้า abs pump สั้นลง แทนที่จะอยู่ได้ถึง 10  ปี อาจจะอยู่ได้แค่ไม่กี่ปีก็พังแล้วละครับ จุดรั่วในระบบเบรคก็เป็นปัญหาเหมือนกัน ดังนั้นควรจะตรวจสอบรอยรั่วตามจุดต่าง ๆ ในระบบให้ดีเพื่อที่จะได้ไม่เกิดปัญหานี้กับท่านครับ



หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: Webmaster ที่ มกราคม 19, 2009, 01:49:36 PM
อันดับที่ 8  abs booster ชำรุดเสียหาย
อาการนี้ก็จะเป็นเหมือนอันดับที่ 9 จะมีอาการเบรคไม่อยู่เหยียบเบรคไปแล้วจะไม่มีเบรคเลยเสียวสันหลังวาบแต่พอย้ำครั้งที่สองอาจจะมีมาบ้างหรืออาจจะไม่มีเลยก็เป็นไปได้ อันนี้ก็เนื่องมาจากอุปกรณ์ภายในกระบอกเบรคแตกหัก ถ้าไม่ไปโดนกระบอกเบรคเป็นรอยก็ยังพอแก้ไขได้แต่ถ้ากระบอกเป็นรอยก็ต้องเปลี่ยนใหม่ ก็เป็นสาเหตุทำให้เจ้าของรถเครียดได้อีกเหมือนกันเพราะสนนราคาที่แพงลิบลิ่วราคาเฉียดแสนบาทเลยทีเดียวในเวลานี้แต่เมื่อก่อนนี้ราคาแพงกว่านี้อีก บางคนซื้อรถมาใช้ได้ยังไม่ถึงเดือน abs booster พังถึงกับต้องขายรถทิ้งก็มีมาแล้ว ดังนั้นก่อนที่จะซื้อรถมือสองก็ดีหรือมีรถอยู่แล้วก็ดีถ้ามีอาการเหยียบเบรคไปแล้วมีอาการสะดุด ๆ ก็ควรเข้าไปปรึกษาช่างก่อนที่จะชำรุด น้ำมันเบรคเป็นตัวสำคัญมากที่สุดเกี่ยวกับระบบเบรค ดังนั้นควรให้ความสำคัญเป็นอันดับ 1 การเลื่อกใช้น้ำมันเบรคก็ควรใช้ตามที่โรงงานผู้ผลิตกำหนด สำหรับเจ้านังอ้วนของเราจะใช้ lockheed dot 4  ete dot4 castrol dot 4 หรือ lucas dot 4 เช่นกันใช้ได้หมด ขอให้เป็น dot 4 ห้ามใช้น้ำมันเบรคต่ำกว่าเกรดนี้ และก็ควรจะเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรคทุก ๆ 40000 กม ตามระยะมิฉะนั้นแล้วจะทำให้ท่านได้ปวดหัวได้เหมือนกัน บางท่านชอบเติมน้ำมันเบรคผสมกัน นี่ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งทำให้ลูกยางที่คาลิปเปอร์เบรคหรือส่วนต่าง ๆ บวมหรือชำรุดได้  ดังนั้นไม่สมควรเติมน้ำมันเบรคเวลาน้ำมันเบรคต่ำควรหาสาเหตุว่าทำไมน้ำมันเบรคถึงต่ำลงได้ สาเหตุหลัก ๆ ก็มีการรั่วซึมในระบบ หรือผ้าเบรคสึกหรอใกล้จะหมดก็เป็นไปได้ การตรวจเช็คผ้าเบรคสำหรับนังอ้วนทำได้ไม่ยากนักเพราะเป็น disc brake ทั้งสี่ล้อ สามารถตรวจเช็คด้วยตัวท่านเองได้ โดยใช้มือตรวจสอบได้ ตัวผ้าเบรคจะแบ่งเป็นสองส่วน คือหนึ่ง เหล็กและเนื้อผ้าเบรค ตัวเหล็กจะมีความหนาอยู่ประมาณ 4-5 มม นอกนั้นจะเป็นความหนาของผ้าเบรคส่วนใหญ่จะอยู่ประมาณ 15 -20 มม เมื่อท่านแหย่มือเข้าไปตรวจเช็คท่านจะรู้สึกได้ว่าผ้าเบรคเหลือมากหรือน้อยขนาดไหน ง่าย ๆ ครับ หรือถ้าไม่สะดวกก็ควรให้ช่างตรวจสอบก็ได้ครับไม่นาน ส่วนในเรื่องของ abs faults โชว์หน้าปัทม์ก็มาจาก abs booster ได้เหมือนกันเพราะนอกจากจะมีส่วนของ mechanical แล้วยังมีระบบ solinoid ซึ่งเป็น electrical มาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้น ควรใช้ test book ตรวจเช็คและ reset ตามระยะเพื่อระบบเบรคที่สมบูรณ์ 100  หากระบบ abs  ไม่สมบูรณ์แล้วจะทำให้ระบบต่าง ๆ ในรถไม่ทำงานไปด้วยเพราะว่าระบบทุกระบบจะถูกพ่วงอยู่จากระบบนี้ เพื่อความปลอดภัยสูงสุดซึ่งทางวิศวกรผู้ออกแบบต้องการให้เป็นไปแบบนี้เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ขับขี่เอง อ่านมาถึงตรงนี้แล้วคิดว่าต่อไปนี้ท่านจะเติมน้ำมันเบรคหลาย ๆ ยี่ห้อผสมกันอีกหรือไม่ ถ้าท่านไม่แน่ใจว่าตอนนี้ใช้ยี่ห้ออะไรอยู่ละก็เพื่อความปลอดภัย ถ่ายทิ้งทั้งระบบจะดีที่สุด ใช้เวลาไม่นาน ใช้น้ำมันเบรคประมาณ 2 ลิตร เสร็จแล้วก็ต้องไล่ลมระบบเบรคให้เรียบร้อย เท่านี้ก็จะทำให้เบรคนิ่มนุ่มนวลขึ้นครับไม่เชื่อลองดู
สำหรับระบบเบรค abs ของนังอ้วนนี้เป็นระบบที่สุดยอดแล้วสามารถไว้ใจได้ล้านเปอร์เซ็นต์ถ้าระบบสมบูรณ์ การเบรคในระยะกระชั้นชิดที่ความเร็ว 150 กม/ชม บอกท่านเลยว่าเอาอยู่มั่นใจมั่ก ๆ ไม่มีอาการเซหรือปัดแม้แต่นิดเดียวลองดู ถ้าท่านใดที่มีประสบการณ์ตรงนี้ก็เข้ามาคุยกันได้เพื่อเป็นประสบการณ์กับท่านที่ยังไม่เคย การเปลี่ยนระบบเบรคแปลงไปใช้แบบอื่นนั้น คงไม่แนะนำถึงแม้ราคาจะถูกลงแต่คุณค่าราคาชีวิตของท่านก็จะถูกลงไปด้วย บอกตรง ๆ ว่าไม่สมควรทำเป็นอย่างยิ่ง



หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: Webmaster ที่ มกราคม 19, 2009, 01:49:58 PM
อันดับที่ 7 ระบบไฟฟ้าล้มเหลว
เห็นชื่อหัวข้อแล้วท่านก็คงนึกถึงระบบการทำงานของร่างกายมุษย์แล้วก็คงจะเห็นภาพได้ไม่มากก็น้อยเพราะถ้าเปรียบเป็นคนก็นึกเอาเองก็แล้วกันคงจะสวดกันสามคืนแล้วก็ควันออกปล่องเผาตามธรรมเนียม ระบบไฟฟ้าในนังอ้วนนั้นมีมากมายหลายระบบเป็นรถที่ช่างฟ้องมาก ๆ แม้แต่หลอดไฟขาดหรือประตูเปิดก็ฟ้อง มันมีทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่ในตัวของมันเอง ข้อดีก็คือเป็นระบบที่แยกระบบแต่ละระบบออกไปเป็นแบบ ecu  1 ตัวควบคุมหนึ่งระบบและมี becm (body electrical control module) เป็นตัวประเมินผลและรวบรวมข้อมูลแจ้งไปยังหน้าปัทม์ display เดี๋ยวมาเขียนต่อนะครับงานเข้าง่ะ  ขอโทษด้วยที่ทำให้รอมาว่ากันต่อเลยก็แล้วกันเนื่องด้วยในรถรุ่นนี้ถูกผลิตขึ้นมาขายในปี 1995 ถ้าดูแล้วในช่วงนั้นยังไม่มีค่ายไหนทำรถที่มีจอ digital ออกมาขายเลย มีเพียงเราเจ้าเดียวเท่านั้นที่พัฒนาระบบนี้ขึ้นมาซึ่งก็ทำให้นังอ้วนขายดีเป็นเทน้ำเทท่า หลังจากนั้นไม่นานก็ได้ฉายาว่า king of off road ในเวลาต่อมา เรามาคุยถึงข้อดีของเจ้าระบบที่ว่ากันดีกว่า ข้อดีของระบบ ecu 1 ตัว ควบคุม 1 ระบบกันดีกว่าว่ามันดีอย่างไร
1  การซ่อมแซมดูแลรักษาทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เวลามีปัญหาก็หาง่าย ไม่เสียเวลามาก
2  ไม่เสียเงินมากเวลาที่ระบบหนึ่งระบบใดเสีย สมมุติว่าระบบ abs เสีย ก็เปลี่ยน ecu เฉพาะระบบนี้เท่านั้นระบบอื่นไม่กระทบ ถ้าเป็นระบบรวมทุกระบบเข้าด้วยกันคงต้องเสียเงินมากกว่าระบบนี้เพราะต้องเปลี่ยนสมองยกชุดทั้ง ๆ ที่ระบบอื่นไม่ได้เสียไปด้วย
ข้อเสียก็มีเหมือนกัน
1  เนื่องจากสมองต้องแยกออกมาในแต่ละระบบจึงทำให้มีสมองสั่งการมากมาย เดือดร้อนต้องหาที่ให้เขาอยู่เกือบ 12 ตัวเชียวนะมากมายพอดู ส่วนมากแล้วก็อยู่ใต้เบาะนั่งของเรานั่นแหละ
2  ระบบสายไฟที่ต้อง wiring แต่ละระบบก็ต้องมากมายไปด้วย จึงทำให้มีสายไฟมากกว่ารถที่มีสมองตัวเดียว
3  เวลาใช้ test book เข้าไปตรวจสอบระบบจะใช้เวลานานกว่าระบบอื่น ยกตัวอย่างเช่นระบบไฟฟ้าของ bmw จะใช้สัญญาณ bus เป็นตัวตรวจสอบรวดเร็วมากใช้เวลาไม่กี่วินาทีก็สามารถตรวจเช็คระบบเรียบร้อยแล้วว่าพร้อมทำงานหรือไม่  เหมือนกับเราวิ่งไปเคาะประตูบ้าน 12 หลังทีละหลัง กับเคาะประตูบ้าน 12 หลังในเวลาพร้อมกัน ดังนั้นระบบของเราอาจจะล้าหลังอยู่บ้างแต่ก็ยังใช้งานได้ดีไม่แพ้รถรุ่นใหม่หรอกครับ
4  ข้อนี้สำคัญมากที่สุดในเมื่อเวลามันเสียตัวเดียวก็ประหยัดกะตังค์ดีอยู่หรอก แต่เมื่อใดก็ตามที่มันเสียพร้อม ๆ กันทั้งหมดจะด้วยสาเหตุใดก็ตามมันก็จะทำให้ท่านนั้นปวดหัวแบบว่า ไม่น่าเลยตูรู้งี้ให้ช่างซ่อมซะดีกว่า เฉพาะราคาสมองทั้งหมดรวม ๆ กันแล้วก็หลายแสนอยู่นะครับ ฉะนั้นอย่าเล่นกับไฟนะครับมันร้อน
เรามาคุยกันดีกว่าครับว่าสาเหตุใดที่ทำให้ไอ้เจ้าระบบไฟฟ้าของเรามีปัญหา 
อันดับแรกเลยก็เรื่อง battery ไฟอ่อนต้องพ่วงอยู่เป็นประจำ ก็จะทำให้รถท่านมีปัญหาได้โดยที่ท่านไม่รู้ การพ่วงแบตเตอรี่โดยไม่ถูกวิธีก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระบบไฟฟ้ามีปัญหา ปัญหาอาจจะไม่เกิดขึ้นทีเดียวแต่จะค่อย ๆ ลุกลามเหมือนมะเร็งร้ายและในทีสุดก็เสียกะตังค์ ดังนั้นต้องขอเตือนท่านที่ใช้รถนาน ๆ ครั้งควรจะสตาร์ทรถของท่านทุก ๆ 2 - 3 วันเพื่อปัญหานี้จะได้ไม่เกิด เพราะอย่าลืมว่าเจ้านังอ้วนใช้ไฟฟ้าเยอะมากจอดอยู่กับที่ก็ใช้ไฟนะครับ เพราะระบบกันขโมยทำงานอยู่
อันดับต่อไปเกิดจากการปฏิบัติงานของช่างซ่อมที่ไม่รู้เทคนิคการซ่อมรถรุ่นนี้จะทำให้เจ้านังอ้วนของเรางอแงได้ ถามว่า sleep mode คืออะไรช่างบางคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันคืออะไรจะต้องทำอย่างไรกับเจ้า sleep mode ดังนั้นไม่ควรเป็นอย่างยิ่งที่ท่านจะนำนังอ้วนไปซ่อมตามร้านไฟฟ้าหรืออู่ที่ไม่ชำนาญ เพราะถ้ามีปัญหาขึ้นมาไม่มีใครรับผิดชอบได้ เพราะส่วนมากแล้วเวลาไปซ่อมสมมุติไปแค่เปลี่ยนแบตเตอรี่ เวลาไปถึงร้านท่านก็แจ้งเปลี่ยนแบตเตอรี่ เจ้าของร้านก็บอกให้เด็กไปเปลี่ยนถามว่าเด็กร้านแบตเตอรี่ก็ได้แต่ถอดและประกอบ ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าต้องถอดขั้วใดก่อนหรือหลัง และตอนใส่จะใส่ขั้วใดก่อนหรือหลังประการใด เวลาใส่ขั้วแบตเตอรี่แล้วจะทำให้cenrrallock ทำงานเองหรือไม่ ถ้ากุญแจเสียบอยู่จะทำอย่างไรในเมื่อกุญแจเสียบอยู่แล้วรถุมันล็อคเอง ใส่ขั้วแบตแล้วจะต้อง reset อะไรบ้าง มีหน้าที่เพียงทำตามที่เจ้าของร้านสั่งเท่านั้น ดังนั้นสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ นี้จะก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมาภายหลังได้
อันดับต่อไปก็เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานของช่างอีกเหมือนกัน คราวนี้เป็นช่างซ่อมท่อไอเสีย แน่นอนว่าเจ้านังอ้วนอายุขนาดนี้ท่อไอเสีย หม้อพักไอเสีย ต้องหมดอายุเป็นธรรมดา เนื่องจากราคาท่อไอเสียของแท้จะแพงมาก ๆ เราก็จะหันไปหาท่อไอเสียราคาต่ำกว่า หรือผลิตในเมืองไทยมาใส่ซึ่งก็ใช้ได้เหมือนกัน บางท่านคงจะนึกไม่ถึงหรอกว่าแค่นำรถไปเปลี่ยนหม้อพักไอเสียแล้วรถจะงอแงได้ มีมาแล้วหลายคันครับ และที่แน่ ๆ รถที่ขายกันอยู่ในเวลานี้ก็มีวนอยู่ในตลาดนั่นแหละเพราะว่าซ่อมไม่จบใครได้ไปแล้วซ่อมไม่จบเสียเงินมากก็ต้องขายออกมา คนที่ซื้อมาด้วยความไม่รู้ก็ต้องมาซ่อมต่ออีกซ่อมต่อไม่ไหวก็ขายออกมา เพราะราคาอะหลั่ยแต่ละอย่างราคาค่อนข้างจะแพง ดังนั้นท่านควรจะใส่ใจในสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ นี้ให้มาก ถึงไหนแล้วครับ อ้อถึงร้านทำท่อไอเสียแล้วครับ พอท่านเอารถไปที่ร้านทำท่อไอเสียตกลงราคาเสร็จท่านก็ทิ้งรถไว้ หลังจากนั้นอีกชั่วโมงให้หลังรถก็เสร็จท่านก็มารับรถกลับ รถก็ดูปกติดีทุกอย่าง แต่มันมีเหตุการณ์ตอนที่ท่านทิ้งรถไว้หรือแม้แต่ท่านอยู่รอท่านก็ไม่รู้หรอกครับ ก็เห็นช่างทำงานอยู่ใต้ท้องรถจนรถเสร็จก็ไม่เห็นมีอะไร แต่มันจะมีเหตุจากการเชื่อมนี่แหละครับ บางช่างมักง่ายมั่กๆๆ เชื่อมไฟฟ้าโดยไม่ถอดขั้วแบตเตอรี่เจ้าสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ นี่แหละครับมันจะเกิดเป็นปัญหาใหญ่มาก ๆ เนื่องจากระบบไฟฟ้าของรถทุกรุ่นทุกยี่ห้อจะใช้ตัวถังของรถเป็นกราวด์ ดังนั้นการเชื่อมไฟฟ้าโดยที่ไม่ถอดขั้วแบตเตอรี่จะทำให้เกิดการ shock ได้ดังนั้นควรระวังข้อนี้ให้มากที่สุด
อันดับต่อไปก็เกิดจากการล้างอัดฉีดรถ ก็ทำให้เกิดปัญหาได้เหมือนกัน อย่างที่เรารู้ ๆ กันอยู่ว่าพวกเราทุกคนรักรถกันทุกคนอยากให้รถหล่อ ๆ สวย ๆ ไม่อยากให้ฝุ่นหรือโคลนมาเปรอะเปื้อนก็เข้าล้างอัดฉีด แต่ด้วยการล้างอัดฉีดบางที่บางแห่งด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์จะล้างห้องเครื่องมาให้ด้วย แต่เนื่องจากแรงดันของน้ำที่ล้างอัดฉีดแรงเกินไป ไม่เป็นผลดีกับตัวรถแม้แต่สีรถเองก็ดีจะทำให้สีหลุดลอกได้ ส่วนในห้องเครื่องยนต์นั้นไม่ควรใช้น้ำแรงดันสูงฉีดโดยเด็ดขาดเพราะจะทำให้ระบบไฟฟ้ามีปัญหาได้ sensor ต่าง ๆ ปลั๊กไฟต่าง ๆ น้ำเข้าไปได้ ปลั๊กไฟฟ้าพวกนี้น้ำเข้าไปได้ง่ายแต่ออกยาก บางท่านยังไม่เคยเห็นเวลาที่ล้างอัดฉีดออกมาแล้วนำรถกลับมาจอดที่บ้านแล้วอยู่ ๆ กันขโมยร้องเอง ไฟรอบคันติดเอง แตรดัง เครื่องยนต์สตาร์ทได้เอง นึกว่าผีหลอกไม่ใช่หรอกครับ ไฟฟ้าลัดวงจรครับ ถ้าเจอแบบนี้ก็ไม่ต้องวิ่งไปหาพระมารถน้ำมนต์ หรือวิงรอบรถเพราะทำอะไรไม่ถูกหรอกครับ หาประแจเบอร์ 13 มาถอดขั้วลบแบตเตอรี่ออกให้เร็วที่สุดก่อนหลังจากนั้นค่อยว่ากัน จะติดต่อศูนย์บริการหรือผู้ชำนาญการมาดูก็สุดแท้แต่ท่านจะสะดวกล่ะครับ ดังนั้นสิ่งที่ท่านควรพกติดรถเป็นประจำก็คือ ประแจเบอร์ 13 ไขควงและคีม อ้อลืมไปยังมีน้ำถัง5ลิตรนะครับอย่าลืม




หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: Webmaster ที่ มกราคม 19, 2009, 01:50:27 PM
อันดับที่ 6 เครื่องยนต์ overheat
วันที่เขียนอยู่นี้เป็นเวลาเช้าที่เศร้าวันหนึ่งของคนรักษ์เร้นจ์ เพิ่งจะเขียนเรื่องระบบไฟฟ้าล้มเหลวไปไม่เท่าไร วันนี้เพื่อนมาหัวใจล้มเหลวซะแล้ว เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดาของโลกมนุษย์ มีใครรู้บ้างว่าคนเราตายแล้วไปไหน สงสารก็แต่เพื่อนลูกยังเล็กอยู่เลย เอ้าเลยมาต้องขออภัยท่านผู้ติดตามด้วยครับ เห็นหัวข้อทุกท่านก็คงจะถึงบางอ้อบ้างแล้วล่ะครับ รถทุกค่ายทุกรุ่นทุกยี่ห้อต้องเจอกับคำคำนี้ และทุกคนก็รู้จักวิธีแก้ไขมันดีอยู่แล้วแต่สำหรับเจ้านังอ้วนของเราค่อนข้างเปราะบางล่อแหลมต่อการที่เครื่องยนต์เสียหายได้ง่ายกว่าเจ้าอื่นและหลังจากรักษาหายจากการ overheat แล้วยังจะมีอาการต่อเนื่องอีกมากมายที่ตามมาภายหลัง ดังนั้นควรให้ความสำคัญกับเครื่องยนต์เป็นอันดับ 1 จะดีที่สุดครับ
 


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ พฤษภาคม 28, 2009, 08:01:59 AM
          มาต่อกันดีกว่าครับ การ overheat ของนังอ้วนได้ส่งผลเสียอย่างมากมายให้กับระบบของเครื่องยนต์ โดยเฉพาะเครื่องยนต์รุ่นนี้ เป็นเครื่องยนต์ที่ได้รับการพัฒนามาจากเครื่องยนต์ ของ discovery v8 ที่ใส่อยู่ใน discovery นั่นแหละครับ ต่างกันที่ระบบelectronics ที่ใช้ไม่เหมือนกัน ของ discovery ใช้เครื่องยนต์ 3900 4200 cc ระบบ electronics จะเป็นแบบ hot wire efi ในระบบนี้ถ้าจะให้รู้ลึกกันจริง ๆ ต้องไปอ่านที่ แฟนพันธุ์แท้ครับ เอาง่าย ๆ ระบบนี้ยังเป็นระบบเดิมแบบโบราณอยู่ ก็คือจะใช้ระบบจุดระเบิดแบบelectronic ควบคู่ไปกับจานจ่าย ดังนั้นความแม่นยำในการจ่ายไฟ น้ำมันในความเร็วสูงหรือรอบเดินเบายังไม่ดีเท่ากับของเครื่องยนต์ 4600 cc ที่ใส่อยู่ใน rangerover เพราะได้รับการออกแบบและพัฒนามาอีกขั้นหนึ่ง ระบบที่ใส่อยู่ในนังอ้วน จะเป็นระบบ GEMS เป็นระบบ electronics สมบูรณ์แบบไม่มีจานจ่ายมาเกี่ยวข้อง ทำให้เครื่องยนต์รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ประหยัดน้ำมันมากกว่า discovery v8i แม้ว่า cc จะมากกว่าไม่ชื่อลองถามคนที่เคยใช้หรือที่ใช้อยู่ดู มาเข้าเรื่องความร้อนของเราต่อดีกว่า ความร้อนในเจ้านังอ้วนของเราเกิดขึ้นได้มากมายหลายสาเหตุโดยเฉพาะกับรถที่มีอายุมากกว่า 10  ปี   


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ พฤษภาคม 28, 2009, 08:13:50 AM
สาเหตุหลัก ๆ ได้แ
1  หม้อน้ำรั่ว ตัน
2  ท่อน้ำรั่ว แตก หมดสภาพ
3  ท่อทางน้ำเป็นสนิมรั่ว
4  o ring ทางเข้า heater รั่ว
5  thermostat  หรือวาล์วน้ำชำรุด รั่ว ไม่ทำงาน
6  ตาน้ำรอบเครื่องยนต์เป็นสนิมรั่ว
7  ปั้มน้ำรั่ว
8  viscous พัดลมหน้าเครื่องยนต์หมดสภาพ
9  หม้อพักน้ำ ฝาหม้อพักน้ำ รั่ว หรือรักษาแรงดันไม่ได้
10 พัดลมไฟฟ้าของระบบแอร์ไม่ทำงาน ทั้ง 2 speed
11 ไล่ลมน้ำไม่ถูกต้องตาม manual
12 ปะเก็นฝาสูบรั่วหรือฝาสูบโก่ง


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: phutarn ที่ พฤษภาคม 28, 2009, 09:46:53 PM
เอาอีกครับเอาอีกหายหน้าหายตาไปนาน กลับมาชกหนักๆหน่อยนา ;) :D ;D


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ พฤศจิกายน 09, 2009, 09:02:39 PM
การ overheat ของเครื่องยนต์ส่งผลเสียต่ออะไรบ้าง มาลองดูกันครับ  แหวนลูกสูบ ลูกสูบ ผนังกระบอกสูบ  ฝาสูบ เสื้อสูบ โดยส่วนมากแล้วรถที่อยู่ได้มาถึงวันนี้แทบจะทุกคันก็ว่าได้ ที่เคย overheat มาแล้ว น้อยคันนักที่ยังไม่เคยเปิดฝาสูบมาเลย   ปัญหาความร้อนเป็นปัญหาหลักของรถยุโรปทุกค่ายก็ว่าได้ เพราะอะไรหรือครับ เพราะว่ารถยุโรปนั้นรถบบพัดลมไฟฟ้าส่วนมากแล้วจะไปอ้างอิงเอาจากแรงดันของน้ำยาแอร์เป็นหลัก ถ้าน้ำยาแอร์ขาดพัดลมไฟฟ้า speed 2 ก็จะไม่ทำงาน ผิดกับของทางค่ายญี่ปุ่นของเขานำไปอ้างอิงกับความร้อนของน้ำ โดยใช้ตัวเทอร์โมเป็นตัวควบคุมดังนั้นจะแน่นอนกว่าใช้แรงดันของน้ำยาแอร์


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ สิงหาคม 14, 2011, 12:52:30 PM
     การ overheat ของเครื่องยนต์ถ้าแก้ไขหรือซ่อมแซมอย่างไม่ถูกต้องตามหลักการแล้ว ก็จะทำให้ท่านต้องสูญเสียเงินมากขึ้นกับการเปลี่ยนเครื่องยนต์ทั้งเครื่องโดยไม่จำเป็น ฉะนั้นการซ่อมแซมหรือการบำรุงรักษาในเรื่องระบบน้ำหล่อเย็นจึงมีความจำเป็นและสำคัญมาก ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องใช้ช่างที่เป็นผ้ชำนาญงานในด้านนี้จริง ๆ
     หม้อน้ำรถยนต์ ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญเป็นอันดับต้น ๆ หากมีการรั่วซึมก็ดี การระบายความร้อนไม่ดี ก็ทำให้เกิดความร้อนขึ้นได้ ดังนั้นเมื่อหม้อน้ำที่ติดมากับรถเกิดการชำรุดเสียหาย โดยเฉพาะฝาครอบด้านบนและฝาครอบด้านล่าง จะเป็นพลาสตืก ดังนั้นเมื่อมีการรั่วซึมจากฝาพลาสติกนี้ส่วนมาแล้ว ช่างก็จะแนะนำให้ท่านเปลี่ยนหม้อน้ำเดิม ๆ เป็นหม้อน้ำที่ทำขึ้นมาใหม่ซึ่งเป็นไส้ทองแดง ถามว่าหม้อน้ำทองแดงกับหม้อน้ำตัวเดิมแตกต่างกันตรงไหน ดีต่างกันอย่างไร ก็มาดูกันครับว่า หม้อน้ำที่ติดรถมานั้นไส้ในเป็นอลูมิเนียมทั้งใบ แล้วมันดีตรงไหนในเมื่อมันเป็นหม้อน้ำเหมือนกัน ทำหน้าที่ระบายความร้อนเหมือนกัน  ถ้ามองกันให้ลึก ๆ แล้วถ้าเปรียบเทียบระหว่างทองแดงกับอลูมิเนียม อะไรที่นำพาความร้อนได้ดีกว่ากัน คำตอบก็จะอยู่ที่อลูมิเนียมครับ ทองแดงนั้นรองลงมา ถ้ามองดูว่าทำไมรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ที่ผลิตออกมาใช้ในทุกวันนี้แทบจะทุกค่ายใช้อลูมิเนียมหมด เพราะอะไรครับ มีอยู่หลาย ๆ เหตุผลครับ
     ระบายความร้อนได้ดีกว่า
     อายุงานการใช้ที่ยาวกว่า
     การบำรุงรักษาง่ายกว่าา
     
     ดังนั้นสรุปง่าย ๆ ว่าถ้ารถของท่านได้เปลี่ยนหม้อน้ำที่เป็นไส้ทองแดงมาแล้วและความร้อนก็ยังคงมีอยู่่ ก็ให้ท่านนึกถึงหม้อน้ำไปก่อนเลยอันดับแรก ทางที่ดีแล้วควรจะนำตัวหม้อน้ำที่ติดรถมาไปทำฝาบนกับฝาล่าง เป็นอลูมิเนียมแล้วใส่กลับเข้าไปจะดีที่สุดครับ อายุการใช้งานอีกยาวนาน ถ้าเป็นหม้อน้ำไส้ทองแดงไม่เกิน 2 ปี ก็จะรั่วอีกครั้งหนึ่งครับไม่เชื่อก็ลองดู


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ สิงหาคม 14, 2011, 01:03:09 PM
     บางท่านซื้อรถมาแล้วเปลี่ยนทุกอย่างในระบบไปแล้ว เปลี่ยนเครื่องยนต์ไปแล้วแต่ความร้อนยังคงมีอยู่เพราะอะไร เป็นเพราะการวิเคราะห์ปัญหาของช่างนั้นไม่ละเอียดเพียงพอและไม่มีความชำนาญพอดถึงต้องทำให้ท่านต้องเสียเงินไปอีกมากมายทั้ง ๆ ที่ไม่จำเป็นเลย  ดังนั้นการจะดูว่ารถยนต์ของท่านนั้น overheat จริงหรือไม่นั้น ช่างผู้วิเคราะห์ ก็มีส่วนสำัคัญทีสุด การนำเครื่องมือพิเศษมาช่วยวิเคราะห์ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ไม่ควรจะมองข้าม
     การ diagnostics โดยการ real time ในระบบความร้อนจะทำให้เราได้ข้อมูลที่แท้จริงว่าความร้อนที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความร้อนที่แท้จริงประการใด ในหลักการแล้วในระบบความร้อนรถยนต์โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว normal tempreature  หรือความร้อนปกติในรถยนต์จะอยู่ประมาร 85 c' จะบวกหรือลบก็ไม่น่าจะเกิน 5 c ดังนั้นถ้าอ่านได้เกินกว่า 110 c ก็จะถือว่าค่าความร้อนตัวนี้เกินกว่า spec ดังนั้นก็ควรจะตรวจเช็คตามขั้นตอนต่อไป ถ้าอยากให้คนรักษ์เร้นจ์เขียนวิธีการตรวจเช็คตามลำดับขั้นตอนก็จะทำให้นะครั้บแต่ถ้าไม่ต้องการเราก็จะข้ามไปเขียนเรื่องอื่นต่อไป่ครับ


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: phutarn ที่ สิงหาคม 17, 2011, 12:18:47 AM
กลับมาแล้วเหรอพี่ๆๆๆๆๆ นึกว่าจะลืมกันซะแล้วววว ;) ;)


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ สิงหาคม 17, 2011, 06:16:46 PM
มาต่อกันเลยดีกว่าครับเมื่อมีความร้อนขึ้นกับนังอ้วนเราควรที่จะทำอะไรอย่างไรก่อน
1 ควรตรวจเช็คระดับน้ำหล่อเย็นในถังพักน้ำให้อยู่ระดับกลางตรงรอยตะเข็บพอดี หากตรวจดูแล้วน้ำไม่อยู่ในระดับนี้หรือไม่มีเลยก็ควรจะทำการตรวจหารอยรั่วต่อไป
    ตรวจสอบรอยรั่วที่ท่อยางทุกเส้น หากพบรอยรั่ว หยด ซึม ควรแก้ไข หรือเปลี่ยนใหม่ หากท่านซื้อรถมาใหม่ ควรตรวจสอบท่อยางทุกเส้นก่อนเป็นอันดับแรก หากมีรอยแตกลายงา หรือสภาพเก่ามากแล้วก็ควรจะเปลี่ยนใหม่ดีกว่า เพื่อเป็นการป้องกันก่อนเบื้องต้น
    ตาน้ำรอบเครื่องยนต์ หากตรวจสอบพบตาน้ำรอบเครื่องยนต์มีผุ กร่อน มีน้ำหยดซึมออกมา ถ้าตรวจพบตัวเดียวและเปลี่ยนตัวเดียวนั้นเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะหากว่าสนิมได้กัดกินเหล็กตาน้ำตัวนี้รั่ว ดังนั้นตาน้ำตัวอื่น ๆ ก็สมควรที่จะเปลี่ยนในเวลาเดียวกัน เพราะหากท่าเปลี่ยนเพียงตัวเดียวแล้ว ใช้รถไปอีกไม่นานก็ต้องไล่เปลี่ยนไปจนครบทุกตัวเช่นกัน หรือบางทีอาจจะต้องถึงกับเปลี่ยนเครื่องยนต์ก่อนก็อาจะเป็นไปได้ตาน้ำรอบเครื่องมีทั้งหมด ด้านซ้าย 3 ตัวด้านขวาอีก 3 ตัว หลังเครื่องยนต์อีก 2 ตัว รวมตรงเพลาลูกเบี้ยวอีกหนึ่งตัว ส่วนที่ฝาสูบจะมีด้านหน้า 1 ตัว และด้านหลังอีก 1 ตัว และประการสำคัญถ้าหากจะเปลี่ยนตาน้ำรอบเครื่องทั้งหมดแล้ว ขอแนะนำว่าท่านควรจะเปลี่ยนเป็นตาน้ำทองเหลืองไปเลย เพื่อเป็นการป้องกันในอนาคตที่จะเกิดปัญหานี้กับเครื่องยนต์อีก เพราะตาน้ำทองเหลืองไม่เป็นสนิมตลอดอายุการใช้งานครับ


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ สิงหาคม 17, 2011, 06:30:10 PM
การเปลี่ยนตาน้ำก็เป็นเรื่องสำคัญอีกเช่นกัน เพราะต้องยกเครื่องยนต์ออกมา เนื่องจากยังมีตาน้ำอยู่ท้ายเครื่องอีก 3  ตัว ถ้าไม่ยกเครื่องยนต์ออกมาก็ไม่สามารถทำได้ทั้งหมด หรืออีกทางหนึ่งก็ยกเกียร์ออกแต่ก็ติดปัญหาตาน้ำที่ฝาสูบอีก สรุปแล้วยกเครื่องยนต์ออกดีที่สุด แต่ถ้าได้ยกเครื่องยนต์ออกมาแล้วก็ไม่ควรที่จะเปลี่ยนตาน้ำเพียงอย่างเดียวควรตรวจเช็คหรือเปลี่ยน seal ท้ายเครื่องยนต์และ seal หน้าเกียร์เมนไปพร้อมกันเลยเพราะท่านจะเสียค่าแรงยกเครื่องยนต์เพียงครั้งเดียว และควรจะตรวจสอบรอยรั่วน้ำมันเครื่องยนต์ตามจุดต่าง ๆ ปะเก็นต่าง ๆ ไปพร้อม ๆ กันเลยซะทีเดียว มิฉะนั้นนแล้วจะต้องกลับเข้ามาทำอีกในอนาคตอันใกล้
     หลังจากตรวจตาน้ำไปแล้วก็ไปตรวจสอบหม้อน้ำหน้าเครื่องยนต์ว่ามีรั่วซึมหรือไม่ประการใด อันนี้มองได้ด้วยตาเปล่าครับ
     thermostat หรือวาล์วน้ำที่ตรงด้านขวาของหม้อน้ำด้านล่างก็ต้องดูว่ามีน้ำรั่วออกมาจากตะเข็บหรือไม่ ถ้ามีก็ควรที่จะเปลี่ยนใหม่ครับ
     ถังพักน้ำ  reserve tank ควรตรวจเช็คดูรอยแตกร้าว หากอยู่ในสภาพไม่ดี มีแตกลายงา หรือร้าว ก็สมควรที่จะเปลี่ยนใหม่
     ฝาถังพักน้ำก็มีส่วนสำคัญ เพราะหากฝาหม้อพักน้ำชำรุด  o ring ที่ฝาหม้อพักน้ำหายไป  1  หรือทั้ง 2 ตัวก็จะทำให้ระบบไม่สามารถควบคุมแรงดันน้ำในระบบได้ จะทำให้ความร้อนขึ้นสูง เพราะน้ำจะค่อย ๆ ไหลออกมาโดยที่ท่านไม่รู้ จนกระทั่งหมดถังพักน้ำ และเกิดการ overheat ในที่สุด


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ สิงหาคม 17, 2011, 06:42:44 PM
     ท่อน้ำตัว s ที่อยู่ที่ chassis ด้านขวา ก็ไม่สมควรมองข้ามเพราะส่วนมากก็จะผุไปตามสภาพ และท่อน้ำตัว s ตัวยาวอีก 1 ตัวด้านหน้าเครื่องใต้ไดชาร์จก็เป็นตัวก่อปัญหาเช่นกันเพราะไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอกต้องมองดูอย่างละเอียดถึงจะเห็น หากท่อน้ำทั้งสองตัวนี้รั่วแล้วก็สมควรเปลี่ยน เพราะของแท้เดิม ๆ นั้นเป็นเหล็ก แต่ส่วนมากแล้วทางบ้านเร้นจ์จะเปลี่ยนเป็นท่อ stainless ไปเลยเพื่อตัดปัญหาการผุกร่อนรั่วในอนาคต
     o ring ที่ตู้ heater ก็จะเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่มองไม่เห็น เพราะถ้า o ring heater รั่วแล้ว ช่างทั่ว ๆ ไปก็จะตัดท่อ heater ทั้งสองเส้นออกไป คือจบปัญหาเรื่องน้ำรั่วแต่จะไปเพิ่มปัญหาที่ระบบแอร์ครับ อันนี้ต้องไปอ่านที่ระบบair condition นะครับว่าทำไมแอร์รถของท่านถึงเย็นไม่ฉ่ำ เย็นแบบชืด ๆ
     ปะเก็นท่อร่วมไอดีก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่น้ำรั่วซึมหายไปได้


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ สิงหาคม 17, 2011, 07:00:44 PM
     มาถึงอีกตัวหนึ่งในระบบที่มึความสำคัญมาก ๆ อีกตัวหนึ่งนั่นก็คือ ปั๊มน้ำ ปั๊มน้ำมองผิวเผินแล้วไม่น่าจะมีความสำคัญอะไรมากนักถ้าไม่มีรอยรั่ว แตก ซึม  แต่คิดผิดแล้วครับ บางทีไม่มีรอยแตกรั่ว แต่ภายในไม่มีใบพัดน้ำเลย เพราะเป็นสนิมไปหมดแล้ว กว่าจะรู้ว่าใบพัดในปั๊มน้ำไม่มมีแล้วเครื่องยนต์ก็ฝาสูบโก่งไปแล้วได้เหมือนกัน ดังนั้นไม่ควรมองข้ามปั๊มน้ำ ควรตรวจสอบอย่างละเอียดว่าแรงดันการหมุนวนของน้ำในหม้อน้ำนั้นมีความแรงขนาดไหน  ถ้าเกิดมีน้ำรั่วที่รูน้ำทิ้งก็จบเลยครับเปลี่ยนได้เลย ดังนั้นถ้ามีเสียงดังหอนผิดปกติในเวลาติดเครื่องยนต์เดินเบาหรือเร่งเครื่องยนต์ก็ดี ควรจะหาสาเหตุให้พบ ไหน ๆ ก็เขียนเลยมาถึงเรื่องเสียงดังหน้าเครื่องแล้วก็จะเขียนต่อไปเลยว่าควรจะระมัดระว้งกับเสียงดังหน้าเครื่องเป็นอันดับ 1 เพราะว่ามันสามารถทำให้ท่านทานข้าวลิงได้เลยถ้าเกิดปัญหาขึ้นกับสิ่งเหล่านี้คือ
     ปั๊มน้ำ
     ลูกรอก auto
    ลูกรอกตัวอยู่กับที่
     ไดชาร์จ
     คอมแอร์
     ปั๊มเพาเวอร์พวงมาลัย
     สายพานหน้าเครื่องรุ่นนี้ซึ่งมีอยู่เส้นเดียวและขับทุกระบบ ดังนั้นหากเกิดปัญหากับปั๊มน้ำก็ดี ลูกรอกทั้งสองตัวก็ดี ปั๊มเพาเวอร์ก็ดี  ไดชาร์จและคอมแอร์ก็ดี สายพานหน้าเครื่องอาจจะขาดได้ และถ้าสายพานขาดหรือลูกปืนของสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้แตกหัก เครื่องยนต์ก็ไม่สามารถติดต่อไปได้ ดังนั้นควรให้ความสำคัญอย่างมากโดยเฉพาะการเดินทางไกล


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ สิงหาคม 19, 2011, 08:52:11 AM
ไล่ดูในระบบหล่อเย็นมาก็แทบจะหมดแล้ว ก็ยังมีอีกตัวหนึ่งที่ไม่ควรจะมองข้ามไปซะทีเดียวคือเจ้าตัว thermostat หรือเรียกง่าย ๆ ก็คือวาล์วน้ำ เจ้าตัวนี้ก็สำคัญอีกเหมือนกันถ้าเกิดเจ้าวาล์วไม่เปิดหรือเปิดน้อยก็จะทำให้ระบบมีความร้อนสะสมได้อีกเหมือนกัน วาล์วน้ำโดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะออกแบบมาให้เปิดอยู่ที่อุณหภูมิ ตั้งแต่ 70 - 85 องศาโดยประมาณ หน้าที่ของมันก็คือในเวลาสตาร์ทรถยนต์ตอนเช้าจะปิดน้ำไว้ให้ได้อุณหภูมิทำงาน หลังจากนั้นก็จะเปิดให้น้ำหล่อเย็นผ่านไปตามปกติ ส่วนมากแล้วรถยนต์เมืองหนาวจะใช้มากที่สุด ส่วนในเมืองไทยนั้นบางคนไปถอดออกบอกว่าไม่จำเป็นเพราะเป็นเมืองร้อน การถอดวาล์วออกไม่สมควรทำเป็นอย่างยิ่ง ควรจะใส่ไว้เพราะว่าถ้าถอดวาล์วน้ำออกอาจจะทำให้เครื่องยนต์ชำรุดเสียหายได้ แต่ถ้ามีวาล์วน้ำอยู่ก็ควรจะต้องดูแลให้ดี สาเหตุหลัก ๆ ที่วาล์วน้ำปิดแล้วไม่ยอมเปิดให้น้ำผ่านก็มีอยู่สาเหตุเดียวคือไม่ยอมเปิด วาล์วน้ำของนังอ้วนนั้นค่อนข้างจะพิเศษกว่าวาล์วน้ำของรถยนต์ญี่ปุ่นอยู่ก็ตรงที่ใช้ wax เป็นตัวควบคุมการปิดเปิด เราไม่สามารถตรวจเช็คได้ว่าเสียหรือไม่เสียในขณะที่เย็น ดังนั้นถ้าจะตรวจเช็ควาล์วน้ำตัวนี้ต้องนำไปต้มดู ใส่ไปทั้งตัวแบบนั้นแหละครับต้มให้เดือดแล้วสังเกตุดูวาล์วที่เปิดออกมาว่าสุดหรือไม่ ถ้าเปิดเล็กน้อยก็ควรที่จะเปลี่ยนทิ้งไปเลย ราคาวาล์วน้ำก็ประมาณ 2- 3000 บาทเท่านั้นครับ บางคนถามว่าเปลี่ยนวาล์วน้ำแล้วทำไมพัดลมไฟฟ้าไม่เห็นทำงานเลย เดี๋ยวจะเขียนมาเล่าให้อ่านครับ เอาเรื่องวาล์วน้ำก่อนครับ หลังจากเปลี่ยนวาล์วน้ำแล้วเปลี่ยนท่อยางน้ำแล้ว หรือทำอะไรก็ดีเกี่ยวกับระบบหล่อเย็นทั้งหมด จะต้องไล่ลมน้ำทุกครั้ง ถ้าท่านไม่ไล่ลมน้ำออกมาให้หมด ความร้อนก็จะไม่หายไปจากรถของท่านแน่นอน


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ สิงหาคม 19, 2011, 09:06:07 AM
     การไล่ลมน้ำของนังอ้วน ก็มีหลักการคล้าย ๆ กับรถยนต์ทั่ว ๆ ไป อาจจะแตกต่างกันก็ตรงที่นังอ้วนไม่มี plug ไล่ลมน้ำ อย่าง discovery ที่มี plug ไล่ลมน้ำอยู่บนฝาหม้อน้ำเลย หรือรุ่นอื่น ๆ ที่มีสกรูไล่ลมน้ำ อยู่ที่ปั๊มน้ำบ้าง อยู่ที่ท่อทางบ้าง หรือฝาหม้อน้ำบ้าง แต่นังอ้วนระบบหล่อเย็นเป็นระบบปิด ดังนั้นการไล่ลมน้ำทำได้ทางเดียวก็คือมีขั้นตอนการไล่ลมดังนี้ครับ
     เติมน้ำในหม้อพักน้ำให้เต็มก่อนในอันดับแรก หลังจากนั้นให้ถอดท่อยางท่อน้ำตัวบนด้านหน้าซ้ายมือออก การถอดให้ถอดท่อน้ำที่ออกมาจากเครื่องยนต์ด้านที่ติดกับหม้อน้ำ ต่อจากนั้นก็เติมน้ำให้เต็มทั้งสองด้าน ทั้งด้านเครื่องยนต์และด้านหม้อน้ำ  ทำไมต้องทำแบบนี้ คำตอบง่าย ๆ ก็คือว่า ณ ขณะที่เครื่องยนต์เย็นตัวอยู่วาล์วน้ำจะปิดอยู่น้ำหล่อเย็นไม่สามารถเข้าไปอยู่ในอีกด้านหนึ่งได้ ดังนั้นจึงต้องเติมน้ำอีกด้านหนึ่งให้เต็มด้วย หลังจากนั้นก็ใส่ท่อกลับเข้าไป เปิดฝาหม้อพักน้ำทิ้งไว้ก่อน สตาร์ทเครื่องยนต์ และเร่งเครื่องยนต์ค้างไว้ที่ประมาณ 2000 รอบ/นาที ประมาณ 3 - 5 นาที สังเกตุดูฟองอากาศที่หม้อพักน้ำว่าอากาศหมดหรือยัง ถ้ายังไม่หมดก็ไล่ลมออกจนหมด แล้วเติมน้ำให้ได้ระดับ และก็ปิดฝาหม้อพักน้ำเป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการไล่ลมน้ำ ถามว่าถ้าขับรถออกไปแล้วน้ำรั่วออกไปเรื่อย ๆ จนหมดแล้วเติมน้ำเข้าไปใหม่ ทำไมยังร้อนอยู่อีก คำตอบง่าย ๆ เลยครับเพราะว่าน้ำที่ใส่ลงไปในหม้อพักน้ำนั้นมีปริมาณน้อยไม่เต็มระบบ ดังนั้นควรที่จะทำตามคำแนะนำนี้จะดี่ที่สุดและก็จะหมดปัญหาเรื่องความร้อนไปส่วนหนึ่งครับ


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ สิงหาคม 19, 2011, 09:11:33 AM
      การตรวจเช็คสภาพเครื่องยนต์ของนังอ้วน ถ้าอยากรู้ว่านังอ้วนนั้นสุขภาพเครื่องยนต์เป็นอย่างไรนั้นไม่ยากครับ เพียงค่อย ๆ คลายฝาหม้อพักน้ำให้แรงดันค่อย ๆ ออกจนเห็นว่าหมดแรงดันแล้วก็ลองเปิดดูครับ ถ้าไม่มีแรงดันน้ำออกมาระดับน้ำในหม้อพักน้ำนั้นนิ่งแสดงว่าเครื่องยนต์ตัวี้ดีครับ แต่ถ้าคลายฝาหม้อพักน้ำตัวนี้ออกมาแล้วมีน้ำดันออกมาเรื่อย ๆ ไม่ยอมหยุดก็แสดงว่าเครื่องยนต์ตัวนี้สภาพคงจะไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ก็ต้องลองตรวจสอบดูครับ  ตาดู หูฟัง กายสัมผัส ช่างสังเกตุ ก็จะทำให้หัวใจของนังอ้วนไม่ร้อนลุ่มอีกต่อไปครับ  สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกันก็คือ coolant หรือน้ำยาหล่อเย็นต้องใส่ ในปริมาณ 50/50 นะครับคือปริมาณน้ำสะอาดครึ่งหนึ่งและ coolant อีกครึ่งหนึ่งครับ


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ สิงหาคม 19, 2011, 09:31:53 AM
     ก็มาเข้าเรื่องพัดลมไฟฟ้ากันครับ จากคำถามที่ถามมาก่อนหน้านี้ว่าเมื่อเปลี่ยนวาล์วน้ำแล้วทำไมพัดลมไฟฟ้าจึงไม่ทำงาน ง่าย ๆ ครับ เพราะว่ารถยนต์ที่ผลิตในยุโรปแทบจะทุกรุ่น แทบจะทุกค่ายนั้น การต่อวงจรของพัดลมไฟฟ้าไม่ได้พ่วงเข้าไปกับระบบน้ำหล่อเย็นแบบรถญี่ปุ่นง่าย ๆ ครับ เพียงพ่วง Thermo switch อุณหภูมิประมาณ 85 - 90 องศา ไว้ที่ท่อทางน้ำระบบหล่อเย็นและต่อสายไฟไปที่พัดลมไฟฟ้า พออุณหภูมิถึงองศาที่กำหนดไว้ เจ้าตัว Thermo switch ซึ่งเป็นเหมือนสะพานไฟก็จะต่อทำให้พัดลมไฟฟ้าทำงานครับ เห็นหลักการง่าย ๆ แบบนี้อย่าไปว่าญี่ปุ่นทำไม่ดีนะครับ สุดยอดแล้วครับ เพราะอะไรหรือครับที่ว่าสุดยอด  ที่สุดยอดก็ตรงที่วัดอุณหภูมิของน้ำโดยตรง เมื่อน้ำร้อน ถึงองศาที่ตั้งไว้พัดลมไฟฟ้ายังไงก็ทำงาน ล้านเปอร์เซ็นต์ครับ ยกเว้น พัดลมเสีย หรือ relay ชำรุด ดังนั้นเครื่องยนต์ก็จะเย็นตัวอยู่ตลอดตามอุณหภูมิทำงาน ไม่เกิดความร้อนสะสม ไอ้เจ้าความร้อนสะสมนี่แหละตัวดีทำให้เครื่องยนต์พังมานักต่อนักแล้ว ออกนอกทางไปซะหน่อย กลับเข้ามาคุยกันต่อกับพัดลมไฟฟ้าของนังอ้วน ทำไมไม่เหมือนของญี่ปุ่นง่าย ๆ แต่ชัวร์ พัดลมไฟฟ้าของนังอ้วนนั้นมี สองตัวครับ ทั้งสองตัวจะทำงานพร้อมกัน มีทั้ง speed 1 กับ speed 2 การทำงานของพัดลมไฟฟ้าของนังอ้วนนั้นไม่ได้ใช้อุณหภูมิน้ำเป็นตัวตัดต่อ แต่ดันไปใช้แรงดันของน้ำยาแอร์เป็นตัวตัดต่อแทน ซึ่งจะต่อไปที่ระบบแอร์รถยนต์ ใช้ pressure switch เป็นตัวตัดต่อพ่วงอยู่ในระบบแอร์ มีทั้งตัว 2 ขั้ว และ 4 ขั้ว  ดังนั้นเมื่อแรงดันน้ำยาแอร์ในระบบไม่ได้ตาม spec ที่กำหนดไว้ รอไปเถอะครับ เครื่องยนต์พังแล้วยังไม่ทำงานเลยจะบอกให้ ดังนั้นท่านที่ใช้นังอ้วนแล้วแอร์ไม่เย็น นอกจากตัวท่านจะร้อนแล้วสิ่งที่ตามมาก็คือเครื่องยนต์ของนังอ้วนนั้นร้อนยิ่งกว่า ส่วนมากแล้ว จะเป็นที่ตู้แอร์รั่ว ดังนั้นในหลักการแล้วถ้าตู้แอร์รั่วหรือแรงดันในระบบไม่มีก็ไม่ควรนำรถออกมาวิ่ง ควรจะซ่อมระบบแอร์ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานเสียก่อนแล้วค่อยนำมาวิ่ง บางคนบอกว่ามันยังรั่วน้อยอยู่เติมน้ำยาแอร์ออกมาวิ่งไม่เย็นแล้วค่อยเติมใหม่  ไม่สมควรทำเป็นอย่างยิ่งครับขอบอก เดี๋ยวพรุ่งนี้จะเข้ามาเล่าให้อ่านกันอีกวันนี้ขอหยุดไว้แค่นี้ก่อนนะครับเพื่อนสมาชิก ขอบคุณที่ติดตาม


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: phutarn ที่ สิงหาคม 19, 2011, 06:58:39 PM
สุดยอดดดดดดเลยพี่ เดี๋ยวอีกหน่อยซ่อมเองได้แล้ววววว


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ สิงหาคม 19, 2011, 08:56:00 PM
      วันนี้เข้ามาทั้งเช้าทั้งบ่ายเลย เช้าอากาศดีบ่ายฝนตกเป็นแบบนี้มาเกือบอาทิตย์แล้วสงสัยต้องย้ายไปอยู่หาดใหญ่กันแล้ว อ้าวมาเข้าเรื่องกันก็ค้างกันเรื่องพัดลมไฟฟ้า นังอ้วนของเพื่อนสมาิชิกท่านใดเป็นแบบนี้บ้างครับ ติดเครื่องยนต์ปุ๊บก็ได้ยินเสียงพัดลมไฟฟ้า speed 2 ทำงานปั๊บและจะทำงานต่อไปจนกว่าท่านจะดับเครื่องยนต์ ถ้าเป็นแบบนี้ก็น่าจะผิดจากปกติจากทางโรงงานผู้ผลิตได้ออกแบบไว้ และสิ่งที่จะชำรุดตามมาก็คือตัวพัดลมไฟฟ้าซึ่งต้องทำงานหนักตลอดเวลา ท่านรู้หรือไม่ว่า พัดลมไฟฟ้าspeed 2 นั้นทำงานนาทีละกี่พันรอบ ถ้าพัดลมไฟฟ้าได้ทำงานแบบนี้ทุกวัน แน่นอนล่ะครับตัวมอเตอร์ไฟฟ้าอายุงานไม่นานแน่นอนครับ และตัวที่หนักกว่านั้นก็คือ ไดชาร์จและแบตเตอร๊่ก็จะ overload ไปด้วย ทีนี้ล่ะก็ชำรุดหลายอย่างเลย ทำไมเขาต้องต่อให้พัดลมไฟฟ้า speed 2 ให้ทำงานตลอดเวลาครับ มันมีที่มาที่ไปครับ ก็เพราะเรื่องความร้อนนี่แหละครับ อย่างว่าล่ะครับเอาง่ายเข้าว่าแก้ไขปัญหาไม่ถูกจุดก็เลยต่อพัดลมให้ทำงานแรงขึ้นเพื่อที่จะได้ไประบายความร้อนของหม้อน้ำและ condensor ของระบบแอร์ให้ลดลง ทำให้เครื่องยนต์ระบายความร้อนไปได้เร็วก็จริงอยู่ แต่ก็ควรจะแก้ไขกันให้ถูกจุด เพื่อนสมาชิกเคยสังเกตหรือไม่ว่าถ้าขับรถเข้ามาแล้วได้ยินเสียงพัดลมไฟฟ้าทำงานหึ่งมาแต่ไกลตลอดเวลา ท่านว่ามันน่าจะเกิดขึ้นกับ rangerover หรือไม่ กับการที่เมื่อมีรถวิ่งเข้ามาได้ยินแต่เสียงทำงานปกติของเครื่องยนต์ ท่านว่าอย่างไหนดีกว่ากัน ดังนั้นการแก้ปัญหาที่ถูกวิธีจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดและประหยัดสุดครับ


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ สิงหาคม 20, 2011, 08:18:30 PM
     ดังนั้นการที่ปล่อยให้ระบบเขาทำงานปกติก็จะดีที่สุด ก็คือเมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์แอร์ก็จะทำงานหลังจากสตาร์ทประมาณ 3 วินาที่ หลังจากนั้นเมื่อแรงดันน้ำยาแอร์ในระบบได้ประมาณ  13  bar  พัดลมไฟฟ้า speed 1 ก็จะทำงาน ไปจนกว่าเครื่องยนต์จะร้อนและแรงดันน้ำยาแอร์อยู่ที่ประมาณ 23 bar พัดลมไฟ้ฟ้า speed 2 ก็จะทำงานโดยอัตโนมัติ หลังจากเครื่องยนต์มีความร้อนสู่ภาวะปกติ พัดลมไฟฟ้าก็จะตัดไป และจะทำงานได้เองอีก ตามความดันของน้ำยาแอร์ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง สลับกันไปแบบนี้จนกระทั่งดับเครื่องยนต์  เห็นไหมครับว่าพัดลมไฟฟ้าของนังอ้วนไม่ได้ไปรับความร้อนจากระบบน้ำหล่อเย็นเลย เพียงแต่ไปรับแรงดันน้ำยาแอร์จากระบบแอร์มาตัดต่อระบบโดยใช้ pressure switch เป็นตัวตัดต่อเท่านั้น ถามจริง ๆ เถอะว่าน้ำยาแอร์ในระบบแอร์ของนังอ้วนนั้นน่ะเขาเติมกันอย่างไร เท่าไร บางคนตอบว่า ด้าน hi ต้อง 230 psi เกินไม่ได้เดี๋ยวระเบิด  ที่จริงแล้วไม่ได้เป็นแบบนั้นแต่จะเติมแบบนั้นก็ไม่ถือว่าผิดกติการ์ โดยปกติการเติมน้ำยาแอร์ของนังอ้วนนั้นทางโรงงานผู้ผลิตเขาให้เติมโดยใช้เครื่องชั่งครับ โดยปริมาณในการเติมหลังจาก ทำการ vac ระบบแล้วจะอยู่ที่  1.25 kg บวกลบครับ ถ้าเปิดฝากระโปรงหน้าดูให้ดีจะมีแผ่น plate สีเหลืองระบุเรื่องน้ำยาอยู่ว่าให้เติม 134a เท่านั้น ทำไมเขาถึงต้อง strick เรื่องน้ำยาแอร์ถึงขนาดนั้น ก็นี่แหละครับด้วยเหตุและผลตามข้างบนที่กล่าวมาแล้วนี่แหละ และให้ระวังเสมอว่าการเติมน้ำยาแอร์โดยการวัดดูแรงดันนั้นช่างเขาไม่กล้าเติมเกิน 230 psi แน่ ๆ ไม่เชื่อลองดูสิ เขาจะตอบทันทีว่ากลัวบึมครับ ทางที่ดีควรหาร้านที่มีเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยหน่อยก็มีอยู่ไม่น้อย ส่วนเครื่องที่เคยใช้กันอยู่ก็น่าจะเป็นยี่ห้อ robin ครับ มีทั้งดูดน้ำยานำมาฟอกกลับมาใช้ใหม่ vac ระบบ และเติมระบบ ทั้งหมดทำงานโดยปลายนิ้วสัมผัสครับ แม่นยำและแน่นอนครับ


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ สิงหาคม 20, 2011, 08:41:51 PM
     ยังครับยังมีอีกเยอะแยะมากมายเกี่ยวกับพัดลมไฟฟ้า ยังมีอีกหลาย ๆ คนที่ชอบแปลงพัดลมไฟฟ้าหน้าเครื่องรถยนต์ เขาใส่มาให้สองตัวแปลงซะเหลืออยู่ตัวเดียวเบ้อเริ่มเลยก็เป็นสีสันครับ ถ้าปัญหาไม่เกิดก็พอรับได้นะ แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งที่แปลงมาแล้วเข้าท่าเหมือนกันก็คือการนำเอาการตัดต่อพัดลมไฟฟ้าไปพ่วงอยู่กับระบบน้ำหล่อเย็นอันนี้เห็นด้วยครับ ถึงยังไงเสียพัดลมไฟฟ้าทำงานแน่ ๆ ครับ อันนี้เห็นด้วยครับ ความร้อนลดลงแน่ ๆ ถ้าพัดลมทำงาน ผิดกับระบบของเราที่ใช้แรงดันน้ำยาแอร์ เมื่อใดก็ตามเมื่อระบบแอร์มีการรั่วซึม หรือแรงดันในระบบไม่ได้ตาม spec แล้ว พัดลมไฟฟ้าไม่ทำงานแน่นอนครับ เมื่อพัดลมไฟฟ้าไม่ทำงาน รถติดอยู่ 2 - 3 ชั่วโมง ยังไงก็มีความร้อนสะสมเต็มที่ครับ แล้วท่อยางน้ำตัวบนก็จะเป่งพองถ้าท่อยางเส้นใดเส้นหนึ่งไม่แตก ฝาหม้อพักน้ำก็จะ blow แรงดันที่เกิน 140 bar ออกมาแล้วรถของท่านก็จะอยู่ในสถานะที่เรียกกันว่า overheat ครับ เราควรจะทำตัวยังไงหลังจากเจอกับเหตุการณ์แบบนี้ ไม่ต้องตกใจครับ ดับเครื่องยนต์เปิดฝากระโปรงหน้า นำรถเข้าข้างทาง เปิดไฟฉุกเฉิน ล็อครถ ถ้ายังไม่ได้ทานข้าวกลางวันหรือกาแฟ ควรเดินไปทานหรือหากาแฟดื่มสักครึ่งชั่วโมงเพื่อให้ความร้อนค่อย ๆ ลดลงไปเองตามธรรมชาติ เพราะว่าเราเปิดฝากระโปรงไว้ลมจากธรรมชาติจะพัดพาความร้อนออกไปจะช่วยระบายความร้อนจากห้องเครื่องได้เร็วยิ่งขึ้น  ไม่ควรเติมน้ำทันทีทันใดเพราะอะไรหรือครับ การนำน้ำที่อุณหภูมิประมาณ 37 องศา ไปเติมในหม้อพักน้ำซึ่งในขณะนั้นมีอุณหภูมิเกินกว่า 100 องศา คิดดูเอาเองก็แล้วกันครับว่าอะไรจะเกิดขึ้น ลองนึกถึงภาพที่เรานำกระป๋องนมไปเผาไฟให้ร้อนแล้วนำเอาออกมานำน้ำมาราดลงไปมันก็จะบุบบิบบู้บี้จนจำรูปร่างเดิมไม่ได้ และเนื่องจากเครื่องยนต์ของนังอ้วนนั้นไม่ใช่เหล็กหล่อ แต่ดันเป็นอลูมิเนียมทั้งเสื้อสูบและฝาสูบ เมื่อเติมน้ำเย็นลงไปก็จะทำให้ท่านงานใหญ่เข้าครับ ถึงกับต้องขี่หลังรถ slide กลับคงไม่ใช่บ้านแต่จะเป็นอู่ซ่อมรถแทนและก็จะเสียเงินมากโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เหตุการณ์นี้ส่วนมากแล้วจะเจอกับสภาพสตรีซะส่วนมาก เพราะตอนที่คนรักษ์เร้นจ์อยู่ที่ศูนย์บริการจะเจอะเจอประจำ ดังนั้นทางที่ดีแล้วพอเครื่องยนต์เย็นตัวสู่อุณหภูมิปกติแล้วเราจึงควรเติมน้ำ และทำการไล่ลมน้ำตามกระบวนการก็จะทำให้ท่านสามารถนำรถไปต่อได้โดยไม่มีส่วนใดชำรุดเสียหาย ไม่เชื่อก็ลองทำดูครับ ดีกว่าเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ตั้งเยอะครับเพราะมันเสียหมากกะตังค์ครั้บ


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ สิงหาคม 20, 2011, 08:49:28 PM
     ยิ่งเขียนยิ่งสนุกครับก็ยังเหลืออยู่อีกหนึ่งตัวสำหรับเรื่องความร้อน นั่นก็คือพัดลมหน้าเครื่องยนต์ ตัวใหญ่ ตัวนี้ก็สำคัญไม่น้อยเหมือนกันเพราะมันจะมีอุปกรณ์อีกตัวหนึ่งที่เรียกว่า viscous coupling  ไอ้เจ้าชื่อประหลาดนี้มีหน้าที่อะไรหรือทำไมมันถึงได้มีความสำคัยเกี่ยวกับความร้อนของเครื่องยนต์มากมาย ขอโทษครับงานเข้าเดี๋ยวกลับมาครับ


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ สิงหาคม 29, 2011, 09:25:13 PM
     ต้องขออภัยครับพอดีมีงานต้องไปเยี่ยมสมาชิกที่แม่สายมา เพิ่งจะำกลับมาเขียนต่อในเรื่อง viscous coupling ตัวนี้มันทำหน้าที่อะไรกันแน่ทำไมถึงได้มีความสำคัญมากนัก ถุ้ามองดูกันเผิน ๆ ไปแล้วก็เป็นเพียงตัวจับใบพัดลมหน้าเครื่องเท่านั้น ถ้าจะอธิบายกันในเชิงลึกแลัวล่ะก็จะเข้าใจยากมากสำหรับเพื่อนสมาิชิกเอาเป็นเพียงให้เข้าใจง่าย ๆ ว่ามีเอาไว้เพื่อเวลาเครื่องยนต์ร้อนขึ้นไอ้เจ้าตัวนี้จะทำให้รอบของใบพัดหน้าเครื่องยนต์กับตัวเครื่องยนต์หมุนไม่เท่ากัน เพราะในเจ้า่ตัวนี้นั้นจะมีน้ำมันใส่เอาไว้และมีวาล์วเปิด ปิดได้เมื่อเวลาเครื่องยนต์ร้อนขึ้นซึ่งก็จะทำให้เกิดความหนืดภายในตัวเองก็จะทำให้ใบพัดลมหน้าเครื่องหมุนได้เร็วขึ้นกว่าปกติ ซึ่งถ้าความเร็วรอบเดินเบาและความร้อนปกติแล้วเจ้าตัวนี้จะไม่ทำงานก็จะหมุนช้า แต่พอเร่งรอบสูงขึ้นเมื่อความร้อนสูงเจ้าตัวนี้ก็จะทำงานทำให้ความร้อนลดลง ถ้าจะทดสอบเรื่องความร้อนก็ทำได้ง่าย ๆด้วยตัวท่านเองในขณะขับรถครับ เวลาความร้อนเริ่มขึ้นจากปกติเข็มจะอยู่ที่เที่ยงตรง และเริ่มไปที่บ่ายโมงไปเรื่อย ๆ อันดับแรกให้ปิดสวิสช์แอร์ หลังจากนั้นให้เร่งรอบเครื่องยนต์ คงที่ที่ 2000 รอบต่อนาทีค้างไว้และสังเกตดูเข็มความร้อนว่าลงหรือไม่ ถ้าลงมาอยู่ที่เที่ยงตรงก็เปิดแอร์แล้วก็วิ่งต่อไป ถ้าเ่ข็มความร้อนขยับขึ้นไปอีกก็ทำแบบนี้อีกสลับกันไป ก็จะทำให้ความร้อนสะสมไม่เกิดขึ้นอีก  ดังนั้นไอ้เจ้าตัว  viscous coupling ตัวนี้ถ้าเสื่อมสภาพหรือแรงดันรั่วก็สมควรที่จะเปลี่ยนใหม่ทันที หรือบางครั้งไม่รั่วแต่เจ้าตัว sensor ความร้อนที่ติดตั้งอยู่ที่ตัวของมันเกิดไม่ทำงานขึ้นมาก็จะไม่สามารถ control ตัววาล์วเปิดปิดน้ำมันได้  คงจะเข้าใจได้บ้างที่เขียนมาก็เพราะมีบางท่านนั้นพอเจ้า viscous coupling ตัวนี้รั่วก็เติมน้ำมันลงไปใหม่ หรือไม่ก็ใช้น๊อตยึดให้อยู่กับที่ไปเลย ถามว่าถูกต้องหรือไม่ ไม่ถูกต้องตามหลักการและไม่สมควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะท่านจะทำให้เจ้าปั๊มน้ำที่ยึดใบพัดอยู่ชำรุดเสียหายเร็วกว่าปกติ และจะมีเสียงดังมากกว่าปกติ  ตัวเครื่องยนต์เองก็จะมีปัญหาไม่รู้จักจบเหมือนกัน ทางที่ดีแล้วควรจะตรวจสอบให้ละเอียดน่าจะดีเสียกว่า ตัวใบพัดลมหน้าเครื่องก็เหมือนกันควรจะตรวจสอบความแข็งแรงของใบพัดลมว่ามีแตกร้าวหรือผุกร่อนประการใด เพราะว่ามีเพื่อนสมาชิกหลาย ๆ ท่านที่ขับรถไปดี ๆ อยู่ ๆ ก็ได้ยินเสียงดังในห้องเครื่องยนต์แรงมาก แล้วก็จอดรถน้ำหล่อเย็นในระบบหล่อเย็นไหลนองพื้นควันพุ่งออกมา พอจอดรถได้ก็รีบเปิดฝากระโปรงรถ ตกใจแทบเป็นลม เพราะเห็นใบพัดลมแตกไปโดนหม้อน้ำ ท่อทางน้ำ ฝากระโปรงหน้าบุบ แค่นี้ก็งานเข้าหลายหมื่นอยู่ครับ ดังนั้น ควรจะตรวจสอบใบพัดลมหน้าเครื่องอยู่เสมอ ดีกว่าเสียเงินอีกหลายหมื่นบาทโดยไม่จำเป็น


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ สิงหาคม 29, 2011, 09:45:31 PM
     และก็มีเรื่องทีแนะนำอีกสักหนึ่งเรื่องเกี่ยวกับพัดลมหน้าเครื่องยนต์ มีหลาย ๆ ท่านพอเกิดปัญหากับใบพัดลม หรือเจ้า viscous coupling ขึ้นมาก็ขอแปลงซะเลย แปลงกระบังลมหน้าใส่พัดลมไฟฟ้าตัวเบ้อเริ่มเข้าไปแทนที่ ต่อกระแสไฟฟ้า เข้าไปให้พัดลมไฟฟ้าทำงานทุกวินาทีขณะที่เ่ครื่องยนต์ทำงาน ถามว่าถูกต้องตามหลักการวิศวกรรมศาสตร์ที่ออกแบบมาหรือไม่ ทุก ๆ ท่านก็คงจะทราบคำตอบดีอยู่แล้วว่าไม่ถูกต้องแต่ก็ยังมีคนทำอยู่เพราะเพียงเพื่อประหยัดกับค่าอะหลั่ย ที่จะเปลี่ยนหรือเปลี่ยนไปโดยไม่ได้มีความคิดอะไร คิดแต่เพียงว่าประหยัดกะตังค์ดี แต่ถ้าคิดดูให้ดี ๆ แล้วในระยะยาวเกิดปัญหาตามมามากมาย ขอบอก หลาย ๆ เรื่อง  ตัวพัดลมเองก็ต้องเปลี่ยนบ่อย เดี๋ยวก็ดัง ระบบไฟฟ้าเองไฟก็ไม่พอใช้ในบางขณะเช่นในเวลากลางคืน  ไดชาร์จก็ทำงานหนักไม่ได้พักผ่อน แบตเตอรี่ก็ร้อนอยู่ตลอดเวลา ไม่นานก็เสื่อมสภาพรับรองไม่เกินปีแน่นอน รับรองได้เลยว่าอีกไม่นานก็คงจะเข้าข่ายระบบไฟฟ้าล้มเหลว ถ้าจะใช้นังอ้วนให้มีความสุขและสนุกกับเขาแล้วล่ะก็ขอแนะนำให้ใช้แบบเดิม ๆของเขานั่นแหละครับดีที่สุดแล้ว เห็นคนที่แปลงมาแล้วไม่จบมีมากมายผลสุดท้ายแปลงกลับมาไม่ได้ก็ขายทิ้งออกมา น่าเสียดายครับรถดี ๆ ขอฝากไว้ก็แล้วกันครับ


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ สิงหาคม 29, 2011, 10:02:58 PM
    พูดถึงเรื่องความร้อนมาก็เกือบจะุึุถึงตอนจบแล้ว นึกขึ้นมาได้ว่าในระบบระบายความร้อนของนังอ้วนนั้นดันไปเกี่ยวข้องกับระบบแอร์ของนังอ้วนด้วยก็เลยคิดว่าจะคุยซะตอนนี้เลยน่าจะดีกว่าเพราะกว่าจะถึงระบบแอร์บางท่านคงจะลืมไปแล้ว ในระบบแอร์ของเรานั้น ในตู้แอร์จรีิง ๆ แล้วได้แบ่งออกเป็น 2 ห้องใหญ่ ๆ เรียกกันง่าย ๆ ว่าห้องร้อนกับห้องเย็น ห้องเย็นก็คือระบบแอร์ปกติของเรานั่นแหละ  ส่วนห้องร้อน หรือที่เรียกกันว่า heater นั้นก็รวมอยู่ด้วยกัน โดยตู้ heater นั้นจะอยู่ที่ด้านล่าง และการที่จะทำให้ heater ทำงานได้นั้นก็ต้องพึ่งพาน้ำหล่อเย็นมาทำให้ตัว heater นั้นร้อนอยู่ตลอดเวลา และเวลาจะใช้ก็ให้พัดลมเป่าออกมา heater จะใช้ในเมืองหนาว ส่วนในเมืองไทยก็จะใช้ในเวลาหนาวเหมือนกัน ส่วนมากแล้วเมื่อเวลาตู้ heater  รั่ว หรือภายในระบบรั่วซึม แตก ช่างก็จะทำการตัดระบบนี้ออกไปเพื่อจะได้ไม่ต้องซ่อมหรือเปลี่ยนอะหลั่ย โดยหารู้ไม่ว่า่แอร์ก็จะไม่เย็นไปด้วย บางท่านบอกว่าทำไมรถของเขาทำไมแอร์เย็นไม่ฉ่ำ ส่วนหนึ่งก็มาจากตรงนี้แหละครับถ้าจะให้ลึกแล้วเดี๋ยวเราจะไปคุยกันในเรื่อง air condition น่าจะดีกว่านะครับ


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ สิงหาคม 30, 2011, 08:31:49 PM
     อันดับที่ 5 catalytic converter and heat shield

     เห็นจั่วหัวมาแบบนี้เพื่อนสมาชิกบางท่านก็คงจะงง ๆ อยู่เหมือนกันว่าไอ้เจ้าตัวกรองไอเสียนี่นะหรือที่จะทำให้เราปวดหัวได้ด้วย โดยประสบการณ์แล้วรับรองได้เลยว่าถ้าเจ้าตัวนี้มีปัญหาแล้วล่ะก็ รถทั้งคันก็ไม่เหลือครับ ฟังดูแล้วน่ากลัวยังไงก็ไม่รู้ บางคนบอกว่าพี่ปัญจะแกคงจะล้อเล่น ที่จริงแล้วมันเป็นความจริงเพราะหลาย ๆ ท่านก็ประสบกับตัวเองมาแล้ว ฉะนั้นอย่ามองข้ามสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ไป มิเช่นนั้นแล้วความเสียหายจะตามมา เรามาเข้าเรื่องกันก่อนดีกว่าว่าไอ้เจ้าตัวกรองไอเสียนี่นะ มันติดตั้งอยู่ส่วนใดของตัวรถ ถ้าจะพูดกันให้เข้าใจง่าย ๆ แล้วล่ะก็ มันอยู่ที่เท้าท่านทั้งเบาะหน้าซ้าย ขวา มันจะอยู่ใต้เท้าท่านพอดี และก็มีสองตัวด้วย เพราะว่าเครื่องยนต์ของเราเป็นตัววี ดังนั้นท่อ header จะทำออกมาสองด้าน ซ้ายและขวาและจะไปรวมกันอยู่ที่หม้อพักกลาง บริเ้วณกลาง ๆตัวรถด้านซ้าย และออกไปข้างหลังข้ามเพลาท้ายไปออกทางด้านหลังขวา จะมีหม้อพักท้ายอีกหนึ่งตัว หน้าที่ของไอ้เจ้า catalytic converter นั้นก็คงจะรู้ ๆ กันอยู่แล้วว่าทำหน้าที่กรองเอาแก๊สที่ออกมาจากห้องเผาไหม้ซึ่งเป็นคาร์บอนมอนน็อคไซด์ทำให้เป็นอากาศดีออกมา ในเจ้าตัวกรองไอเสียนี้ภายในจะประกอบด้วยรูเหมือนรังผึ้งเป็นจำนวนมาก  จะยึดเกาะติดอยู่กับผนังเหล็ก ถามว่าถ้ารถไม่มีเจ้าตัวนี้ได้หรือไม่ ตอบได้เลยว่าได้ครับ แต่ก็ไม่ดีสำหรับโลกของเรา


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ กันยายน 09, 2011, 09:18:56 PM
     ส่วนไอ้เจ้าตัวกันความร้อนหรือheat shield ตัวนี้จะติดตั้งอยู่กับตัวรถด้านล่างทั้งซ้ายและขวา เจ้าตัวนี้หน้าที่ของมันก็บอกอยู่แล้ัวว่าตัวกันความร้อนจากท่อไอเสียไม่ให้ขึ้นมาสู่ห้องโดยสาร ถ้ารถของท่านใดไม่มีเจ้าตัวนี้อยู่ถ้าลองถอดรองเท้าออกแล้วเอาเท้าวางลงไปบนพรมจะรู้สึกอุ่น ๆ ดังนั้นถ้าสำรวจดูแลัวว่าตัวนี้ัไม่มีก็ควรจะหามาใส่เสีย จะเป็นของแท้ห้างหรือของที่ทำขึ้นมาก็ใช้ได้เหมือนกัน ส่วนที่มีอยู่แล้วก็ควรจะตรวจสภาพดูว่ามียุ่ยหรือมีสภาพชำรุดบ้างหรือไม่ ถ้าชำรุดให้รีบเปลี่ยนทันที เพราะอะไรหรือครับ อันนนี้เกี่ยวข้องกับเจ้าตัวกรองไอเสียโดยตรงครับ คงต้องย้อนกลับไปที่ตัวกรองไอเสียครับ ถ้านับอายุของการใช้งานมาก็ประมาณ 15 ปีกว่า ๆ แล้วครับ ดังนั้นวัสดุหรือตัวกรองข้างในอาจจะชำรุด หรือแตกหัก หรือไม่ก็ตันได้ รถบางคันวิ่งไม่ค่อยออกก็ต้องลองตรวจเช็คตัวนี้ด้วยครับ การเช็คก็ไม่ยากหรอกครับ ติดเครื่องยนต์ให้ได้อุณณหภูมิทำงานจากนั้นเร่งเครื่องยนต์อยู่กับที่ หลังจากนั้นลองสังเกดดูที่ท่อร่วมไอเสีย ดูว่าร้อนแดงเป็นไฟหรือไม่ถ้าร้อนแดงเป็นไฟจะอันตรายมากครับ ส่วนมากแล้วถ้าไม่สังเกตุจะไม่ค่อยรู้ครับ บางท่านบอกว่าขับรถไปแล้วได้กลิ่นอะไรไหม้ ๆในห้องเครื่อง ก็ต้องลองตรวจเช็คที่ตัวนี้แหละครับ ถ้าตัวกรองไอเสียตันก็ควรจะเปลี่ยน จะเป็นของแท้หรือของเทียบ ก็ใช้ได้เหมือนกัน หรือจะต่อตรงตัดทิ้งไปเลยก็ได้ครับแต่จะมีกลิ่นไอเสียที่ท้ายรถมากหน่อย ทำไมต้องดูตัวนี้หรือครับก็มาเข้าประเด็นเลยครับ ถ้าเจ้าตัวกรองไอเสียตัวนี้หมดสภาพตันก็จะทำให้ไอเสียที่คายทิ้งออกมาจากห้องเผาไหม้อั้นไม่สามารถระบายออกสู่ภายนอกได้ ก็จะทำให้ท่อไอเสียร้อนแดงการร้อนแดงนี้จะส่งผลทำให้ แผ่นกันความร้อนห้องเครื่องซึ่งติดอยู่กับห้องเครื่องซึ่งเป็นฉนวนที่ติดไฟได้ง่าย ไฟจะไม่ลุกขึ้นทีเดียวแต่จะค่อย ๆ คุขึ้นมาจนกระทั่งติดไฟทั้งหมดนั่นแหละครับถึงจะรู้ว่าไฟไหม้ห้องเครื่อง เมื่อถึงเวลานั้นแล้วก็คงไม่ทันแล้วครับ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่าางยิ่งที่จะต้องตรวจตราเจ้าตัวกรองไอเสียและแผ่นกันความร้อนทั้งสองอย่างนี้อยู่เสมอ เพื่อจะได้ไม่ตกอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินครับ


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ กันยายน 09, 2011, 09:27:36 PM
     มีรถหลายคันที่ไฟไหม้เกิดจากสาเหตุตัวกรองไอเสียตัน ดังนั้นไม่ควรมองข้ามตัวนี้นะครับ เขียนมาถึงครึ่งทางแล้วครับ ตอนนี้ถึง top five แล้วก็จะยิ่งเข้มข้นขึ้นมาอีกครับสำหรับอีก 5 อย่างที่เป็นปัญหาของเราที่เจ้าของรถควรที่จะรู้ ลองนึกดูครับว่าอันดับที่ 4 จะเป็นระบบใดครับ


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ กันยายน 10, 2011, 09:11:22 PM
     อันดับที่ 4 high pressure brake hose
    
     จั่วหัวขึ้นมาแบบนี้ก็คงจะรู้แล้วว่าเป็นระบบเบรค ซึ่งในระบบเบรคของนังอ้วนนั้น เป็นระบบ abs ที่ทางวิศวกร land rover ได้ออกแบบมาอย่างลงตัว สามารถเบรคด้วยความมั่นใจได้ล้านเปอร์เซ็นต์ มีส่วนประกอบหลึก ๆ ก็จะประกอบไปด้วย
     abs booster
     abs pump
     accumulator
     abs ecu
     abs sensor
     ถ้าจะคุยกันในเรื่อง เบรค abs ทั้งหมดแล้วก็ดูว่าคงจะยาว เอาเป็นว่าเข้าใจง่าย ๆ ว่า abs นั้นมีหน้าที่ทำให้เบรคไม่ล็อคตายเวลาเหยียบเบรคกระทันหันในช่วงความเร็วสูง มันจะมีหน้าที่คอยสั่งให้ผ้าเบรคจับ ปล่อย สลับกันไป  จนกว่ารถจะหยุดเพื่อป้องกันการลื่นไถล หรือเสียการทรงตัว
    


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ กันยายน 24, 2011, 09:07:10 PM
     ต้องขอโทษเพื่อนสมาชิกที่ติดตามอยู่ ตอนนี้กำลังจะเปิดบ้านหลังใหม่อยู่ก็เลยยุ่ง ๆ เลยไม่ไ้ด้เข้ามาเขียนต่อต้องขออภัยไว้ด้วยครับ เดี๋ยวเมื่อทุกอย่างลงตัวแล้วก็จะกลับมาเขียนต่อนะครับ


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ ตุลาคม 14, 2012, 01:35:37 PM
สำหรับเจ้า high pressure brake hose ตัวนี้ถ้าแปลกันตรง ๆ ตัวแล้วก็คือท่อแรงดันสูงน้ำมันเบรค เจ้าตัวนี้จะต่ออยู่ระหว่าง abs pump กับ abs booster ที่เจ้าตัวนี้มีปัญหาของเขาก็เพียงแต่ว่ารั่วตามสภาพการใช้งาน ส่วนมากแล้วก็ประมาณ 5-7 ปีต่อการเปลี่ยนหนึ่งครั้ง ในการรั่วของเขาเนื่องจากว่าเป็นท่อแรงดันสูงดังนั้นน้ำมันเบรคจะถูกฉีดออกไปแบบทุกทิศทุกทาง ทำให้น้ำมันเบรคซึ่งไวไฟอยูแล้ว ลงไปโดนท่อไอเสียซึ่งอยู่ด้านล่าง จึงทำใหเกิดไฟลุกไหม้ขึ้นในจุดนี้และลุกลามไปใหญ่โต ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดไฟไหม้รถจึงต้องมีการหาทางป้องกันในจุดนี้ โดยการร้อยเข้าไปในท่อยางอีกหนึ่งชั้น เพื่อป้องกันการรั่วลงไปโดนท่อไอเสีย ก็เป็นการป้องกันอีกวิธีหนึ่งที่เห็นผลมาก รถเร้นจ์โรเวอร์ในบ้านเร้นจ์ทุกคันต้องผ่านการร้อยท่อนี้ทั้งหมดเพื่อป้องกันสิ่งที่จะเกิดนขึ้นได้โดยที่เราไม่รู้


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ ตุลาคม 14, 2012, 01:42:04 PM
ถามต่อกันอีกว่าไอ้เจ้าท่อแรงดันสูงน้ำมันเบรคนี้มีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน ก็ต้องขอตอบเลยว่ามันมีความสำคัญมากมายในระบบเบรคของนังอ้วนนี้ เมื่อตอนที่รถรุ่นนี้ออกมาใหม่ ๆ ทางศูนย์บริการได้มีการเรียกรถกลับ recall เพื่อมาเปลี่ยนท่อแรงดันน้ำมันเบรคนี้ทุกคัน  ดังนั้นรถทุกคันที่ผลิตในปี 1995 จะถูกเรียกกลับมาเปลียนในปี 1996 ทุกคันครับ

ทำไมทางโรงงานผู้ผลิตจึงไม่หาทางป้องกันให้ได้ดีกว่าเปลี่ยนท่อเส้นใหม่ นี่ก็เป็นอีกคำถามหนึ่งในใจของผู้เขียน ดังนั้นถ้าหากท่านใช้รถรุ่นนี้อยู่ก็ควรจะตรวจสอบสภาพของท่อเส้นนี้ให้คงสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งาน เพราะเราไม่รู้ว่าท่อจะแตกเมื่อไร แต่ถ้าแตกแล้วเมื่อใด ถ้าไม่มีอะไรป้องกันขอบอกได้เลยครับว่า ไฟไหม้รถทุกคัน


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ ตุลาคม 14, 2012, 01:54:11 PM
อันดับที่ 3 main fuse box

     ถ้าจะพูดถึงเรื่องระบบไฟฟ้าในรถยนต์แล้ว เจ้ากล่องฟิวส์ในรถยนต์นั้นมีอยู่ในรถยนต์ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ ไม่มีรถยนต์คันไหนไม่มีกล่องฟิวส์  ทำไมมันถึงได้มีความสำคัญมากมายนักหนา ถ้ามองถึงระบบไฟฟ้าแล้ว ง่าย ๆ เลยก็ลองคิดดูว่า ต้องมีแบตเตอรี่แน่นอน หลังจากแบตเตอรี่ก็จะต้องเป็นกล่องฟิวส์ relay นี่แหละ แล้วหน้าที่ของมันทำหน้าที่อะไร ทำไมถึงไม่มีกล่องฟิวส์ไม่ได้ ถ้ารถยนต์ไม่มีกล่องฟิวส์ เมื่อใดก็ตามถ้าเกิดมีการลัดวงจรไฟฟ้าขึ้นภายในรถยนต์ เมื่อนั้นรถยนต์ของท่านก็จะโชติช่วงชัชวาลย์เป็นเศษเหล็กในไม่นานนัก ดังนั้นหน้าที่ของกล่องฟิวส์ก็คือตัวตัดวงจรไฟฟ้าในขณะที่มีการลัดวงจร เมื่อใดก็ตามเมื่อมีการลัดวงจร ฟิวส์ก็จะขาด เมื่อฟิวส์ขาดก็จะไม่มีการจ่ายไฟฟ้าเข้าไปในระบบของระบบนั้น ทำให้รถชองท่านไม่ต้องอยู่ในนาทีฉุกเฉิน ข้อควรระวังของการเปลี่ยนฟิวส์ ห้ามเปลี่ยนฟิวส์มากกว่าที่ระบุ หากระบุว่าให้ใส่ 10 a ก็ควรปฏิบัติตามนั้น ไม่ควรนำฟิวส์ 20 30 40 ไปใส่แทน เพราะถ้าเกิดการลัดวงจรจริง ๆ ฟิวส์เกิดไม่ขาดก็เท่ากับว่าสายไฟจะร้อนและไหม้ในที่สุด


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ ตุลาคม 14, 2012, 02:08:28 PM
ความสำคัญของเจ้ากล่องฟิวส์ตัวนี้ ซึ่งในนังอ้วนนั้นมีเพียงกล่องเดียวอยู่ที่ใต้ฝากระโปรงตรงซุ้มล้อด้านคนขับ ติดกับหม้อพักน้ำ ไอ้ปัญหาที่เกิดกับกล่องฟิวส์นั้นนอกจากที่ใช้ไปนานานแล้วขาหนีบ ตัวrelay สีเหลือง ที่ส่วนมากจะเสียก็ของ  Rl 6 Rl 7 สีเหลืองสองตัวนี้เท่านั้น เพราะจะใช้กระแสสูงและตลอดเวลาที่เครื่องยนต์ติด จะทำให้ขาของเจ้า รีเลย์สองตัวนี้ไหม้ตลอด ดังนั้นเมื่อเจ้ารีเลย์สองตัวนี้ไหม้ ก็จะมีปัญหากับระบบแอร์ ทำให้แอร์ไม่เย็น blower ทั้งซ้ายและขวาจะไม่ทำงาน

และในอีกประเด็นหนึ่งเนื่องจากกล่องฟิวส์ของรุ่นนี้ค่อนข้างที่จะบอบบางมากและการติดตั้งยังอยู่ที่ในห้องเครื่องยนต์อีก จึงทำให้ได้รับความร้อนจากห้องเครื่องยนต์เต็ม ๆ อายุการใช้งานจึงสั้นลงกว่าที่ควรจะเป็น ในจุดด้านล่างของกล่องฟิวส์จะมีนัทเบอร์สิบ ยึดสายไฟ main อยู่ 3 เส้น ลองสำรวจดูถ้าเสาหลักคลอนได้ แสดงว่าขั้วสายไฟหลุดแล้วให้เปลี่ยนใหม่

ส่วนในอีกประเด็นหนึ่งเนื่องจากติดตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับหม้อพักน้ำ ดังนั้นเวลาเครื่องยนต์ overheat น้ำจากหม้อพักน้ำจะถูกพ่นเข้ามาใส่เต็ม ๆ ถ้ากล่องฟิวส์ไม่สมบูรณ์ แตกหัก แตกร้าว ก็จะทำให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมาได้ครับ


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ ตุลาคม 14, 2012, 02:16:41 PM
อันดับที่ 2 heating and ventelating

เห็นจั่วหัวมาก็เสียวอีกแล้วเห็นมีความร้อนเข้ามาเกี่ยวอีกแล้ว ระบบนี้ถ้าเรียกกันตรง ๆ แล้ว ก็คือระบบแอร์ทำความเย็นในรถยนต์เรานี่แหละครับ เพียงแต่ว่าในรถยนต์ที่ผลิตในยุโรปหรือใช้ในโซนนี้นั้นต้องมี heater ทำความร้อนรวมอยู่ด้วยครับ เพราะในยุโรปจะหนาวมากจึงต้องใช้ระบบนี้เข้ามาช่วย ในบ้านเรานั้นซึ่งเป็นเมืองร้อนก็คงจะไม่จำเป็นสักเท่าใดนัก แต่ด้วย ตาม spec ที่เราสั่งซื้อรถรุ่นนี้เข้ามา ดันเป็น UK spec จึงต้องมีเข้ามาด้วยครับ

ถ้าจะคุยกันถึงเรื่องระบบทำความเย็นกันแล้วจะยาวมากครับ เพราะเป็นอีกระบบหนึ่งที่สร้างปัญหาน่าปวดหัวให้กับเจ้าของรถอย่างมากมาย อากาศก็ร้อนรถก็ติดแอร์ก็ไม่เย็นอีก เป็นปัญหาที่เจ้าของรถทุกคนไม่อยากให้มันเกิด แต่มันก็เกิดบ่อยมาก เพราะอะไร ทำไมมันถึงต้องเป็นแบบนี้เราจะมาคุยกันในรายละเอียดคงสนุกน่าดูครับ


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ ตุลาคม 17, 2012, 08:45:48 AM
ระบบแอร์ในนังอ้วนนั้น ได้รับการออกแบบมาดีมากแล้วในขณะนั้น ถ้าพุดไปแล้วอายุนังอ้วนนั้น ปีนี้ก็เข้าปีที่ 17 เข้าไปแล้ว ก็พอสมควรกับการใช้งานมาถึงวันนี้ ดังนั้นสิ่งต่าง ๆ ก็คงจะมีเสื่อมตามอายุไปตามกาลเวลา ดังคำพระที่ว่า สังขารไม่เที่ยง  อย่าไปยึดเกาะติดกับสิ่งสมมุติทั้งหลายทั้งปวง ที่เขาสมมุติว่าเรามี สมมุติว่าเราเป็น ทุกสิ่งล้วนเป็นอนิจจัง ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน อ้าววกไปหน่อยนึงต้องขออภัยครับ กลับมาระบบแอร์ของเราดีกว่าครับ ในระบบแอร์ของนังอ้วนนั้นก็จะประกอบด้วยอุปกรณ์หลัก ๆ เหมือนกับระบบแอร์ในรถยนต์ทุกรุ่นที่ใช้กันอยู่นี้แหละครับ ไม่มีอะไรที่พิเศษกว่ายี่ห้ออื่นเลย แต่เนื่องจากมีการใช้อีเล็คทรอนิคส์เข้ามาร่วมด้วยในการ control ของระบบก็เลยดูทำให้ยุ่งยากในการซ่อมแซมพอสมควร ถ้าไม่มีการ diagnostics ด้วย computer แล้ว จะหาความแม่นยำยากว่าอะไรเสีย นอกเสียจากว่าน้ำยาแอร์ขาด หน้าคลัชไม่ทำงาน นั้นพอจะเช็คได้อยู่


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ ตุลาคม 17, 2012, 08:55:21 AM
อุปกรณ์หลัก ๆ ในระบบแอร์นั้น มีตามนี้ครับ

ตู้แอร์ evaporator ของรุ่นนี้ได้ถูกติดตั้งมาอยู่ตรงกลางรถพอดี ดังนั้นเวลาที่จะต้องเปลี่ยนตู้แอร์ก็ต้องยก facia ออกแล้วถึงจะทำการเปลี่ยนตู้แอร์ได้ เมื่อกล่าวถึงตัว facia เองมาถึงเวลานี้มันก็กรอบแตกหักเมื่อเราทำการรื้อออกมาก็สร้างปัญหาปวดหัวกับการแตกหักของอุปกรณ์พล่าสติก ไม่ว่าจะเป็นครอบเรือนไมล์ แผงสวิทซ์กลาง ฝาครอบกลาง แม้แต่รางแอร์ใต้ตัวfacia เองก็หมดสภาพ แม้แต่ facia เองก็หมดสภาพเช่นกัน โก่งขึ้น งอลง ดังนั้นจึงสมควรที่จะเปลี่ยน แต่ด้วยสนนราคาของใหม่นั้นค่อนข้างสูง หลาย ๆ คนจึงหันมามองของมือสองก็พอจะหาได้อยู่บ้างครับในราคาที่รับได้



หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ ตุลาคม 18, 2012, 09:10:58 AM
ตู้ heater ก็จะถูกรวมอยู่ในตู้นี้ด้วย สำหรับนังอ้วนนี้นั้น จะถูกออกแบบมาให้มีใช้ทั้งระบบความร้อนและระบบความเย็นรวมกันอยู่และจะต้องพึ่งพาอาศัยกันแยกกันอยุ่คนละห้อง ห้องร้อนและห้องเย็น มีเพียง flap ปิดกั้นอยู่เท่านั้น flap นี้สามารถเปิดปิดได้ตามคำสั่งของ ecu control ว่าต้องการความเย็นมากน้อยขนาดใด flap ก็จะถูกสั่งให้เปิดปิดที่รับคำสั่งมาโดยตรง ไอ้เจ้าตัวนี้แหละครับที่ในระบบแอร์มีปัญหามากมาย เดี๋ยวเราไปคุยกันในรายละเอียดของไอ้เจ้าตัวนี้กัน ตู้ heater นี้นั้น ตัวของมันเองก้มีลักษณะคล้ายตู้แอร์นั่นแหละครับต่างกันก็เพียงแต่ตูแอร์นั้นน้ำยาแอร์ผ่านไปที่ตู้แล้วให้พัดลมเป่าความเย็นออกมา แต่ตู้ Heater นั้นใช้น้ำจากระบบระบายความร้อน เรียกง่าย ๆ ว่าน้ำในหม้อน้ำนั่นเอง นำมาผ่านตู้อยู๋ตลอดเวลา เวลาจะใช้ก็เพียงแต่มีลมมาเป่าให้ความร้อนออกมาเท่านั้นเอง แล้วจะมีไว้เพื่ออะไรในเมื่อเมืองไทยร้อนจะตาย มันเป็น std ครับ ในประเทศที่อากาศหนาวเย็นจำเป็นต้องใช้มันมาก ครับ แต่ในเมืองไทย กลับสร้างปัญหามากมาย โดยส่วนมากแล้ว นังอ้วนในวันนี้นั้นแทบจะทุกคันได้ถูกตัดทิ้งออกไปแล้วเสียเป็นส่วนใหญ่ การตัดทิ้งนี้ก็เพราะตู้จะรั่วบ่อยตรงช่วงท่อเข้ากับท่อออกที่ทางเข้าตู้ซึ่งจะใช้ O RING และการซ่อมแซมเวลาที่รั่วทำได้ยากมาก ก็เลยเอาง่าย ๆตัดทิ้งซะเลย แต่การที่ตัดทิ้งออกไปก็ต้องตัดอย่างฟถูกวิธีด้วยครับ ไม่งั้นปัญหาเกิดตามมาอีก


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ ตุลาคม 22, 2012, 07:27:54 AM
blower ซ้าย กับขวา ก็คอยทำหน้าที่เป่าลมให้กับคอยล์เย็น เมื่อลมถูกเป่าออกมาที่คอยล์เย็นแล้ว ความเย็นก็จะกระจายมาตามช่องทางเดินลม มาออกตามทิศทางลมที่ถูกกำหนดไว้ การที่จะทำให้พัดลมแอร์นั้นหมุนเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับการปรับที่หน้าจอแอร์ ปัญหาหลัก ๆ ของเจ้า blower นั้น ส่วนมากจะเสียที่ขั้วทางเข้าซะมากกว่าเนื่องจากความร้อนที่ถูกใช้งานที่ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ ตลอด ๆ ทำให้เจ้าขั้วที่เข้านี้ไหม้ และไม่ทำงาน ตัวมอเตอร์เองก็มีไหม้เหมือนกัน ส่วนวงจรควบคุม electronics นั้น ก็จะถูกประกอบไปด้วย Diode เมื่อถูกใช้งานไปนาน ๆ ก็จะเสื่อมสภาพ faults จะถุก memory เก็บไว้ใน ecu และจะถุกค้นพบโดย diagnostics computer  แต่ส่วนมากแล้วปัญหาที่พบในระบบนี้ก็คงจะได้แก่ relay สีเหลือง  2 ตัว ในกล่องฟิวส์หน้าเครื่องยนต์  RL 6 RL7 จะไหม้อยู่เป็นประจำเนื่องมาจากความร้อน ตัว relay เองเมื่อถูกใช้งานไปนาน ๆ ก็จะร้อน เมื่อเกิดความร้อนขาที่เสียบ relay ก็จะอ้าเมื่อเกิดการอ้า ก็เกิดการ arc ขึ้น แล้วก็ไหม้ในที่สุด  สุดท้ายแล้วก็ต้องเปลี่ยนกล่องฟิวส์ก็ด้วยสาเหตุนี้เป็นหลักครับ


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ ตุลาคม 22, 2012, 07:48:16 AM
blend motor เป็นภาษาทางการสำหรับเจ้า sensor ตัวนี้ หน้าที่หลัก ๆ ของมันเลยก็คือคอยเปิดปิดทิศทางลมแอร์ ให้ไปในทิศทางที่เราต้องการ set นี้จะมีกัน 3 ตัว เจ้าตัวแรกจะชื อว่า distribution motor เจ้าตัวนี้จะเป็นตัวกำหนดทิศทางลม เป่าเข้าหน้า เท้า กระจก เจ้าตัวนี้จะเป็นตัวควบคุม จะถูกติดตั้งอยู่ที่ตู้แอร์ด้านขวา เจ้าตัวนี้จะทำหน้าที่ในเรื่องความเย็นเพียงอย่างเดียว ส่วนอีก 2 ตัวนั้น ก็คือ blend motor RL เจ้าสองตัวนี้จะทำหน้าที่เปิดปิดห้องร้อนเพื่อให้เจ้าลมในห้องร้อนนั้นออกมาผสมกับห้องเย็นเพื่อปรับอุณหภูมิให้สูงขึ้นตามต้องการครับ เมื่อเจ้าท่อ heater ถูกตัด น้ำร้อนที่เข้ามาหล่อเลี้ยงตัวตู้ได้ถูกตัดออกไปทำให้ไม่มีความร้อนเข้ามาในตู้ ดังนั้นเจ้าสองตัวนี้ก็จะไม่ทำงานหรือทำงานผิดพลาด ดังนั้นรถบางคันนั้นเย็นจนหนาวก็จะเกิดขึ้นได้ เพราะว่าเราไม่สามารถกำหนดตัวอุณหภูมิภายในห้องโดยสารได้ โดยที่ตัวท่านเองไม่ได้สังเกตุ ติดเครื่องได้แอร์เย็นก็ไปแล้ว แต่ในความเป็นจริงแล้ว อุณหภูมิภายในห้องโดยสารนั้น ไม่สามารถถูกปรับไปได้ ไม่เชื่อลองปรับอุณหภูมิไปที่ HI ดูสิครับว่าอุณหภูมิภายในห้องโดยสารจะร้อนขึ้นหรือไม่

มีอีก 2 ตัวครับสำหรับเจ้าตัว มอเตอร์ที่ใช้เปิดปิด เจ้าสองตัวนี้จะเกาะอยู่ที่ด้านข้างของเจ้า blower นั่นแหละครับ มีไว้เพื่อเวลาที่เราจะเปิด หรือปิดอากาศภายนอก หรืออากาศภายในให้หมุนวน เจ้าสองตัวนี้จะทำงานครับ ถ้าสังเกตุง่าย ๆ เวลาที่เราติดเครื่องยนต์แรก ๆ จะได้ยินเสียงมอเตอร์สองตัวนี้ทำงานครับ

ถามมาว่าถ้าไม่มีเจ้าตัวพวกนี้เข้ามาเกี่ยวข้องระบบจะทำงานได้หรือไม่ ได้ครับ เพียงแต่ว่าต้องตัดออกให้เป็น manual ทั้งหมดเอาให้เหมือนกับ discovery เลยก็ได้ครับ ก็จะไม่สร้างปัญหากับเราดี icon book ที่โชว์อยู่ที่หน้าจอแอร์ด้านล่างขวานั้นจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าระบบแอร์ของท่านนั้นผิดปกติอยู๋ ถ้าระบบปกติแล้วรูปหนังสือนี้จะไม่มีโชว์ขึ้นมา ด้งนั้นการที่จะรู้ว่าระบบแอร์ผิดปกติอะไรนั้น ถ้าจะให้เร็วและแม่นยำก็คงต้องใช้ diagnostics computer เข้ามาตรวจเช็คดู แม่นยำร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ


หัวข้อ: Re: TOP TEN SERIOUS CASE
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ ตุลาคม 22, 2012, 08:07:59 AM
ในเมื่อถูกพูดถึงเจ้า blend motor ไปแล้วก็คงจะต้องพูดถึงเจ้าตัว control ไปเลยทีเดียว ระบบแอร์ของนังอ้วนนั้น เป็นระบบที่เรียกว่า fully electronics จะใช้ไฟฟ้าเข้ามาในการทำงานทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นระบบที่ทำงานเองหลังจากที่เครื่องยนต์ถุก start ไปแล้ว ภายใน 3 วินาทีคอมแอร์จะทำงานเองโดยอัตโนมัติ เขาออกแบบระบบนี้มาก็เพื่อเวลาที่เราติดเครื่องยนต์นั้น แบตเตอรี่ และไดสตาร์ท จะรับภาระอันหนักหน่วง เพราะจะต้องเอาชนะกับ load ที่ตัวเครื่องยนต์ทั้งหมด ดังนั้นจึงได้ตัดระบบแอร์ออกไปเพื่อลดภาระอันหนักหน่วงนี้ ส่วนมากแล้วเราจะไม่ค่อยรู้สึกอะไรมากนัก แต่ถ้าสังเกตุกันดีดีแล้ว ไดสตาร์ทที่ชำรุดเสียหาย อายุการใช้งานสั้น ไหม้ ก็มาจากสาเหตุที่รับภาระหนักเกินไปทั้งนั้นครับ ถูกเถียงกันมากระหว่างเจ้าสามตัวนี้ว่าใครจะเสีย ระหว่างเจ้า ได้ชาร์จ ไดสตาร์ท กับแบตเตอรี่ เวลาที่รถสตาร์ทไม่ติดเราจะต้องนึกถึงร้านไดนาโมใช่ไม๊ล่ะครับ พอสตาร์ทติดแล้ว แบตเตอรี่จะต้องตกเป็นจำเลยตัวแรก หลังจากเปลี่ยนไปแล้วอีกไม่นานก็เป็นแบบนี้อีก   ไดชาร์จก็จะถูกตกเป็นจำเลยตัวต่อไป   หลังจากนั้นก็ยังเป็นอยู่อีก สุดท้ายแล้วก็เจ้าไดสตาร์ทตัวสุดท้ายนี่แหละครับจำเลยที่บางทีถูกมองข้ามไป ไดสตาร์ทนั้นก็มีอายุการใช้งานของมันเหมือนกัน ยิ่งถ้าใช้งานหนักก็จะชำรุดได้โดยง่าย ส่วนมากแล้วที่เสียก็ แปลงถ่านหมด solinoid เสื่อมสภาพ ขดลวดเสื่อมสภาพ ก็คงตองเอาใจใส่ดูแลกับเจ้าไดสตาร์ทตัวนี้ให้ดี มาก ๆ ครับเพราะว่าเมื่อสตาร์ทไม่ติดแล้นั้น ทางเลือกเดียวสำหรับรถยนต์เกียร์ออโต้นั้นก็คือต้องพ่วงแบตเตอรี่ครับ


หัวข้อ: Re: RANGEROVER P38 (1995-2001) TOP TEN SERIOUS CASES
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ พฤศจิกายน 15, 2012, 10:03:05 PM
Air Compressor  ของนังอ้วนนั้นจะใช้ของ sanden s105 ก็เหมือนกับ air compressor ทั่ว ๆ ไปของรถยนต์ทุกรุ่นไม่มีอะไรแตกต่างมากมายเท่าไร ที่เสียอยู่บ่อย ๆ ก็เจ้าหน้าคลัชคอมแอร์ ที่ต้องเปลี่ยนกันอยู่บ่อย ๆ ของแท้จะแพงมากครับ เอาไปเทียบของ honda มาใส่ก็น่าจะทำให้ถูกลงได้ครับ

Air drier เจ้าตัวนี้จะทำหน้าที่กรองความชื้นในระบบครับ


หัวข้อ: Re: RANGEROVER P38 (1995-2001) TOP TEN SERIOUS CASES
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์เร้นจ์ ที่ ธันวาคม 29, 2012, 08:11:48 PM
ไม่ได้เข้ามานานวันนี้พอมีเวลาก็อยากจะมานั่งเขียนให้ได้อ่านกันต่อครับ ต้องขออภัยที่ไม่ได้เข้่ามานานตอนนี้พอมีเวลาแล้วก็จะมานั่งคุยกันต่อครับยังมีเรื่องสนุก ๆ มาก ๆ ก็เจ้า air suspension  นั่นแหละครับตัวสนุกเลย รออ่านก็แล้วกันครับ เรื่องสุดท้ายสนุกมากคับ เรื่องที่ท่านไม่เคยรู้เกี่ยวกับระบบถุงลมแท้จริงแล้วเป็นมาอย่างไร แก้ไขกันอย่างไร ถูกต้องตามวิธีการหรือไม่อย่างไร สุดท้ายแล้วต้องจบลงด้วย coil spring นั้นใช่หรือไม่อย่างไร คงได้ติดตามอ่านกันอย่างสนุกสนานครับ


หัวข้อ: Re: RANGEROVER P38 (1995-2001) TOP TEN SERIOUS CASES
เริ่มหัวข้อโดย: noi ที่ มกราคม 06, 2013, 03:03:57 PM
มือใหม่รุ่นอนุบาลครับ ได้รับความรู้มากมายเกี่ยวกับ P38, ขอบคุณมากๆครับ, รอติดตามตอนต่อไปอยู่ครับ  ::)