Rangeroverhouses.com Forum
มกราคม 12, 2025, 04:00:01 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: SMF - Just Installed!
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: RANGEROVER P38 (1995-2001) TOP TEN SERIOUS CASES  (อ่าน 72755 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 13 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คนรักษ์เร้นจ์
Administrator
Hero Member
*****
กระทู้: 553


รู้จริง..เรื่องเร้นจ์โรเวอร์


« ตอบ #15 เมื่อ: สิงหาคม 17, 2011, 07:00:44 PM »

     มาถึงอีกตัวหนึ่งในระบบที่มึความสำคัญมาก ๆ อีกตัวหนึ่งนั่นก็คือ ปั๊มน้ำ ปั๊มน้ำมองผิวเผินแล้วไม่น่าจะมีความสำคัญอะไรมากนักถ้าไม่มีรอยรั่ว แตก ซึม  แต่คิดผิดแล้วครับ บางทีไม่มีรอยแตกรั่ว แต่ภายในไม่มีใบพัดน้ำเลย เพราะเป็นสนิมไปหมดแล้ว กว่าจะรู้ว่าใบพัดในปั๊มน้ำไม่มมีแล้วเครื่องยนต์ก็ฝาสูบโก่งไปแล้วได้เหมือนกัน ดังนั้นไม่ควรมองข้ามปั๊มน้ำ ควรตรวจสอบอย่างละเอียดว่าแรงดันการหมุนวนของน้ำในหม้อน้ำนั้นมีความแรงขนาดไหน  ถ้าเกิดมีน้ำรั่วที่รูน้ำทิ้งก็จบเลยครับเปลี่ยนได้เลย ดังนั้นถ้ามีเสียงดังหอนผิดปกติในเวลาติดเครื่องยนต์เดินเบาหรือเร่งเครื่องยนต์ก็ดี ควรจะหาสาเหตุให้พบ ไหน ๆ ก็เขียนเลยมาถึงเรื่องเสียงดังหน้าเครื่องแล้วก็จะเขียนต่อไปเลยว่าควรจะระมัดระว้งกับเสียงดังหน้าเครื่องเป็นอันดับ 1 เพราะว่ามันสามารถทำให้ท่านทานข้าวลิงได้เลยถ้าเกิดปัญหาขึ้นกับสิ่งเหล่านี้คือ
     ปั๊มน้ำ
     ลูกรอก auto
    ลูกรอกตัวอยู่กับที่
     ไดชาร์จ
     คอมแอร์
     ปั๊มเพาเวอร์พวงมาลัย
     สายพานหน้าเครื่องรุ่นนี้ซึ่งมีอยู่เส้นเดียวและขับทุกระบบ ดังนั้นหากเกิดปัญหากับปั๊มน้ำก็ดี ลูกรอกทั้งสองตัวก็ดี ปั๊มเพาเวอร์ก็ดี  ไดชาร์จและคอมแอร์ก็ดี สายพานหน้าเครื่องอาจจะขาดได้ และถ้าสายพานขาดหรือลูกปืนของสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้แตกหัก เครื่องยนต์ก็ไม่สามารถติดต่อไปได้ ดังนั้นควรให้ความสำคัญอย่างมากโดยเฉพาะการเดินทางไกล
บันทึกการเข้า

พี่คนนี้นั้นมีแต่ให้...และ...ให้
คนรักษ์เร้นจ์
Administrator
Hero Member
*****
กระทู้: 553


รู้จริง..เรื่องเร้นจ์โรเวอร์


« ตอบ #16 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2011, 08:52:11 AM »

ไล่ดูในระบบหล่อเย็นมาก็แทบจะหมดแล้ว ก็ยังมีอีกตัวหนึ่งที่ไม่ควรจะมองข้ามไปซะทีเดียวคือเจ้าตัว thermostat หรือเรียกง่าย ๆ ก็คือวาล์วน้ำ เจ้าตัวนี้ก็สำคัญอีกเหมือนกันถ้าเกิดเจ้าวาล์วไม่เปิดหรือเปิดน้อยก็จะทำให้ระบบมีความร้อนสะสมได้อีกเหมือนกัน วาล์วน้ำโดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะออกแบบมาให้เปิดอยู่ที่อุณหภูมิ ตั้งแต่ 70 - 85 องศาโดยประมาณ หน้าที่ของมันก็คือในเวลาสตาร์ทรถยนต์ตอนเช้าจะปิดน้ำไว้ให้ได้อุณหภูมิทำงาน หลังจากนั้นก็จะเปิดให้น้ำหล่อเย็นผ่านไปตามปกติ ส่วนมากแล้วรถยนต์เมืองหนาวจะใช้มากที่สุด ส่วนในเมืองไทยนั้นบางคนไปถอดออกบอกว่าไม่จำเป็นเพราะเป็นเมืองร้อน การถอดวาล์วออกไม่สมควรทำเป็นอย่างยิ่ง ควรจะใส่ไว้เพราะว่าถ้าถอดวาล์วน้ำออกอาจจะทำให้เครื่องยนต์ชำรุดเสียหายได้ แต่ถ้ามีวาล์วน้ำอยู่ก็ควรจะต้องดูแลให้ดี สาเหตุหลัก ๆ ที่วาล์วน้ำปิดแล้วไม่ยอมเปิดให้น้ำผ่านก็มีอยู่สาเหตุเดียวคือไม่ยอมเปิด วาล์วน้ำของนังอ้วนนั้นค่อนข้างจะพิเศษกว่าวาล์วน้ำของรถยนต์ญี่ปุ่นอยู่ก็ตรงที่ใช้ wax เป็นตัวควบคุมการปิดเปิด เราไม่สามารถตรวจเช็คได้ว่าเสียหรือไม่เสียในขณะที่เย็น ดังนั้นถ้าจะตรวจเช็ควาล์วน้ำตัวนี้ต้องนำไปต้มดู ใส่ไปทั้งตัวแบบนั้นแหละครับต้มให้เดือดแล้วสังเกตุดูวาล์วที่เปิดออกมาว่าสุดหรือไม่ ถ้าเปิดเล็กน้อยก็ควรที่จะเปลี่ยนทิ้งไปเลย ราคาวาล์วน้ำก็ประมาณ 2- 3000 บาทเท่านั้นครับ บางคนถามว่าเปลี่ยนวาล์วน้ำแล้วทำไมพัดลมไฟฟ้าไม่เห็นทำงานเลย เดี๋ยวจะเขียนมาเล่าให้อ่านครับ เอาเรื่องวาล์วน้ำก่อนครับ หลังจากเปลี่ยนวาล์วน้ำแล้วเปลี่ยนท่อยางน้ำแล้ว หรือทำอะไรก็ดีเกี่ยวกับระบบหล่อเย็นทั้งหมด จะต้องไล่ลมน้ำทุกครั้ง ถ้าท่านไม่ไล่ลมน้ำออกมาให้หมด ความร้อนก็จะไม่หายไปจากรถของท่านแน่นอน
บันทึกการเข้า

พี่คนนี้นั้นมีแต่ให้...และ...ให้
คนรักษ์เร้นจ์
Administrator
Hero Member
*****
กระทู้: 553


รู้จริง..เรื่องเร้นจ์โรเวอร์


« ตอบ #17 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2011, 09:06:07 AM »

     การไล่ลมน้ำของนังอ้วน ก็มีหลักการคล้าย ๆ กับรถยนต์ทั่ว ๆ ไป อาจจะแตกต่างกันก็ตรงที่นังอ้วนไม่มี plug ไล่ลมน้ำ อย่าง discovery ที่มี plug ไล่ลมน้ำอยู่บนฝาหม้อน้ำเลย หรือรุ่นอื่น ๆ ที่มีสกรูไล่ลมน้ำ อยู่ที่ปั๊มน้ำบ้าง อยู่ที่ท่อทางบ้าง หรือฝาหม้อน้ำบ้าง แต่นังอ้วนระบบหล่อเย็นเป็นระบบปิด ดังนั้นการไล่ลมน้ำทำได้ทางเดียวก็คือมีขั้นตอนการไล่ลมดังนี้ครับ
     เติมน้ำในหม้อพักน้ำให้เต็มก่อนในอันดับแรก หลังจากนั้นให้ถอดท่อยางท่อน้ำตัวบนด้านหน้าซ้ายมือออก การถอดให้ถอดท่อน้ำที่ออกมาจากเครื่องยนต์ด้านที่ติดกับหม้อน้ำ ต่อจากนั้นก็เติมน้ำให้เต็มทั้งสองด้าน ทั้งด้านเครื่องยนต์และด้านหม้อน้ำ  ทำไมต้องทำแบบนี้ คำตอบง่าย ๆ ก็คือว่า ณ ขณะที่เครื่องยนต์เย็นตัวอยู่วาล์วน้ำจะปิดอยู่น้ำหล่อเย็นไม่สามารถเข้าไปอยู่ในอีกด้านหนึ่งได้ ดังนั้นจึงต้องเติมน้ำอีกด้านหนึ่งให้เต็มด้วย หลังจากนั้นก็ใส่ท่อกลับเข้าไป เปิดฝาหม้อพักน้ำทิ้งไว้ก่อน สตาร์ทเครื่องยนต์ และเร่งเครื่องยนต์ค้างไว้ที่ประมาณ 2000 รอบ/นาที ประมาณ 3 - 5 นาที สังเกตุดูฟองอากาศที่หม้อพักน้ำว่าอากาศหมดหรือยัง ถ้ายังไม่หมดก็ไล่ลมออกจนหมด แล้วเติมน้ำให้ได้ระดับ และก็ปิดฝาหม้อพักน้ำเป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการไล่ลมน้ำ ถามว่าถ้าขับรถออกไปแล้วน้ำรั่วออกไปเรื่อย ๆ จนหมดแล้วเติมน้ำเข้าไปใหม่ ทำไมยังร้อนอยู่อีก คำตอบง่าย ๆ เลยครับเพราะว่าน้ำที่ใส่ลงไปในหม้อพักน้ำนั้นมีปริมาณน้อยไม่เต็มระบบ ดังนั้นควรที่จะทำตามคำแนะนำนี้จะดี่ที่สุดและก็จะหมดปัญหาเรื่องความร้อนไปส่วนหนึ่งครับ
บันทึกการเข้า

พี่คนนี้นั้นมีแต่ให้...และ...ให้
คนรักษ์เร้นจ์
Administrator
Hero Member
*****
กระทู้: 553


รู้จริง..เรื่องเร้นจ์โรเวอร์


« ตอบ #18 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2011, 09:11:33 AM »

      การตรวจเช็คสภาพเครื่องยนต์ของนังอ้วน ถ้าอยากรู้ว่านังอ้วนนั้นสุขภาพเครื่องยนต์เป็นอย่างไรนั้นไม่ยากครับ เพียงค่อย ๆ คลายฝาหม้อพักน้ำให้แรงดันค่อย ๆ ออกจนเห็นว่าหมดแรงดันแล้วก็ลองเปิดดูครับ ถ้าไม่มีแรงดันน้ำออกมาระดับน้ำในหม้อพักน้ำนั้นนิ่งแสดงว่าเครื่องยนต์ตัวี้ดีครับ แต่ถ้าคลายฝาหม้อพักน้ำตัวนี้ออกมาแล้วมีน้ำดันออกมาเรื่อย ๆ ไม่ยอมหยุดก็แสดงว่าเครื่องยนต์ตัวนี้สภาพคงจะไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ก็ต้องลองตรวจสอบดูครับ  ตาดู หูฟัง กายสัมผัส ช่างสังเกตุ ก็จะทำให้หัวใจของนังอ้วนไม่ร้อนลุ่มอีกต่อไปครับ  สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกันก็คือ coolant หรือน้ำยาหล่อเย็นต้องใส่ ในปริมาณ 50/50 นะครับคือปริมาณน้ำสะอาดครึ่งหนึ่งและ coolant อีกครึ่งหนึ่งครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 19, 2011, 09:35:52 AM โดย คนรักษ์เร้นจ์ » บันทึกการเข้า

พี่คนนี้นั้นมีแต่ให้...และ...ให้
คนรักษ์เร้นจ์
Administrator
Hero Member
*****
กระทู้: 553


รู้จริง..เรื่องเร้นจ์โรเวอร์


« ตอบ #19 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2011, 09:31:53 AM »

     ก็มาเข้าเรื่องพัดลมไฟฟ้ากันครับ จากคำถามที่ถามมาก่อนหน้านี้ว่าเมื่อเปลี่ยนวาล์วน้ำแล้วทำไมพัดลมไฟฟ้าจึงไม่ทำงาน ง่าย ๆ ครับ เพราะว่ารถยนต์ที่ผลิตในยุโรปแทบจะทุกรุ่น แทบจะทุกค่ายนั้น การต่อวงจรของพัดลมไฟฟ้าไม่ได้พ่วงเข้าไปกับระบบน้ำหล่อเย็นแบบรถญี่ปุ่นง่าย ๆ ครับ เพียงพ่วง Thermo switch อุณหภูมิประมาณ 85 - 90 องศา ไว้ที่ท่อทางน้ำระบบหล่อเย็นและต่อสายไฟไปที่พัดลมไฟฟ้า พออุณหภูมิถึงองศาที่กำหนดไว้ เจ้าตัว Thermo switch ซึ่งเป็นเหมือนสะพานไฟก็จะต่อทำให้พัดลมไฟฟ้าทำงานครับ เห็นหลักการง่าย ๆ แบบนี้อย่าไปว่าญี่ปุ่นทำไม่ดีนะครับ สุดยอดแล้วครับ เพราะอะไรหรือครับที่ว่าสุดยอด  ที่สุดยอดก็ตรงที่วัดอุณหภูมิของน้ำโดยตรง เมื่อน้ำร้อน ถึงองศาที่ตั้งไว้พัดลมไฟฟ้ายังไงก็ทำงาน ล้านเปอร์เซ็นต์ครับ ยกเว้น พัดลมเสีย หรือ relay ชำรุด ดังนั้นเครื่องยนต์ก็จะเย็นตัวอยู่ตลอดตามอุณหภูมิทำงาน ไม่เกิดความร้อนสะสม ไอ้เจ้าความร้อนสะสมนี่แหละตัวดีทำให้เครื่องยนต์พังมานักต่อนักแล้ว ออกนอกทางไปซะหน่อย กลับเข้ามาคุยกันต่อกับพัดลมไฟฟ้าของนังอ้วน ทำไมไม่เหมือนของญี่ปุ่นง่าย ๆ แต่ชัวร์ พัดลมไฟฟ้าของนังอ้วนนั้นมี สองตัวครับ ทั้งสองตัวจะทำงานพร้อมกัน มีทั้ง speed 1 กับ speed 2 การทำงานของพัดลมไฟฟ้าของนังอ้วนนั้นไม่ได้ใช้อุณหภูมิน้ำเป็นตัวตัดต่อ แต่ดันไปใช้แรงดันของน้ำยาแอร์เป็นตัวตัดต่อแทน ซึ่งจะต่อไปที่ระบบแอร์รถยนต์ ใช้ pressure switch เป็นตัวตัดต่อพ่วงอยู่ในระบบแอร์ มีทั้งตัว 2 ขั้ว และ 4 ขั้ว  ดังนั้นเมื่อแรงดันน้ำยาแอร์ในระบบไม่ได้ตาม spec ที่กำหนดไว้ รอไปเถอะครับ เครื่องยนต์พังแล้วยังไม่ทำงานเลยจะบอกให้ ดังนั้นท่านที่ใช้นังอ้วนแล้วแอร์ไม่เย็น นอกจากตัวท่านจะร้อนแล้วสิ่งที่ตามมาก็คือเครื่องยนต์ของนังอ้วนนั้นร้อนยิ่งกว่า ส่วนมากแล้ว จะเป็นที่ตู้แอร์รั่ว ดังนั้นในหลักการแล้วถ้าตู้แอร์รั่วหรือแรงดันในระบบไม่มีก็ไม่ควรนำรถออกมาวิ่ง ควรจะซ่อมระบบแอร์ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานเสียก่อนแล้วค่อยนำมาวิ่ง บางคนบอกว่ามันยังรั่วน้อยอยู่เติมน้ำยาแอร์ออกมาวิ่งไม่เย็นแล้วค่อยเติมใหม่  ไม่สมควรทำเป็นอย่างยิ่งครับขอบอก เดี๋ยวพรุ่งนี้จะเข้ามาเล่าให้อ่านกันอีกวันนี้ขอหยุดไว้แค่นี้ก่อนนะครับเพื่อนสมาชิก ขอบคุณที่ติดตาม
บันทึกการเข้า

พี่คนนี้นั้นมีแต่ให้...และ...ให้
phutarn
Webmaster Angel eye
Administrator
Hero Member
*****
กระทู้: 2226


Angel eye


« ตอบ #20 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2011, 06:58:39 PM »

สุดยอดดดดดดเลยพี่ เดี๋ยวอีกหน่อยซ่อมเองได้แล้ววววว
บันทึกการเข้า

ภูเขา ธารน้ำ
คนรักษ์เร้นจ์
Administrator
Hero Member
*****
กระทู้: 553


รู้จริง..เรื่องเร้นจ์โรเวอร์


« ตอบ #21 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2011, 08:56:00 PM »

      วันนี้เข้ามาทั้งเช้าทั้งบ่ายเลย เช้าอากาศดีบ่ายฝนตกเป็นแบบนี้มาเกือบอาทิตย์แล้วสงสัยต้องย้ายไปอยู่หาดใหญ่กันแล้ว อ้าวมาเข้าเรื่องกันก็ค้างกันเรื่องพัดลมไฟฟ้า นังอ้วนของเพื่อนสมาิชิกท่านใดเป็นแบบนี้บ้างครับ ติดเครื่องยนต์ปุ๊บก็ได้ยินเสียงพัดลมไฟฟ้า speed 2 ทำงานปั๊บและจะทำงานต่อไปจนกว่าท่านจะดับเครื่องยนต์ ถ้าเป็นแบบนี้ก็น่าจะผิดจากปกติจากทางโรงงานผู้ผลิตได้ออกแบบไว้ และสิ่งที่จะชำรุดตามมาก็คือตัวพัดลมไฟฟ้าซึ่งต้องทำงานหนักตลอดเวลา ท่านรู้หรือไม่ว่า พัดลมไฟฟ้าspeed 2 นั้นทำงานนาทีละกี่พันรอบ ถ้าพัดลมไฟฟ้าได้ทำงานแบบนี้ทุกวัน แน่นอนล่ะครับตัวมอเตอร์ไฟฟ้าอายุงานไม่นานแน่นอนครับ และตัวที่หนักกว่านั้นก็คือ ไดชาร์จและแบตเตอร๊่ก็จะ overload ไปด้วย ทีนี้ล่ะก็ชำรุดหลายอย่างเลย ทำไมเขาต้องต่อให้พัดลมไฟฟ้า speed 2 ให้ทำงานตลอดเวลาครับ มันมีที่มาที่ไปครับ ก็เพราะเรื่องความร้อนนี่แหละครับ อย่างว่าล่ะครับเอาง่ายเข้าว่าแก้ไขปัญหาไม่ถูกจุดก็เลยต่อพัดลมให้ทำงานแรงขึ้นเพื่อที่จะได้ไประบายความร้อนของหม้อน้ำและ condensor ของระบบแอร์ให้ลดลง ทำให้เครื่องยนต์ระบายความร้อนไปได้เร็วก็จริงอยู่ แต่ก็ควรจะแก้ไขกันให้ถูกจุด เพื่อนสมาชิกเคยสังเกตหรือไม่ว่าถ้าขับรถเข้ามาแล้วได้ยินเสียงพัดลมไฟฟ้าทำงานหึ่งมาแต่ไกลตลอดเวลา ท่านว่ามันน่าจะเกิดขึ้นกับ rangerover หรือไม่ กับการที่เมื่อมีรถวิ่งเข้ามาได้ยินแต่เสียงทำงานปกติของเครื่องยนต์ ท่านว่าอย่างไหนดีกว่ากัน ดังนั้นการแก้ปัญหาที่ถูกวิธีจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดและประหยัดสุดครับ
บันทึกการเข้า

พี่คนนี้นั้นมีแต่ให้...และ...ให้
คนรักษ์เร้นจ์
Administrator
Hero Member
*****
กระทู้: 553


รู้จริง..เรื่องเร้นจ์โรเวอร์


« ตอบ #22 เมื่อ: สิงหาคม 20, 2011, 08:18:30 PM »

     ดังนั้นการที่ปล่อยให้ระบบเขาทำงานปกติก็จะดีที่สุด ก็คือเมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์แอร์ก็จะทำงานหลังจากสตาร์ทประมาณ 3 วินาที่ หลังจากนั้นเมื่อแรงดันน้ำยาแอร์ในระบบได้ประมาณ  13  bar  พัดลมไฟฟ้า speed 1 ก็จะทำงาน ไปจนกว่าเครื่องยนต์จะร้อนและแรงดันน้ำยาแอร์อยู่ที่ประมาณ 23 bar พัดลมไฟ้ฟ้า speed 2 ก็จะทำงานโดยอัตโนมัติ หลังจากเครื่องยนต์มีความร้อนสู่ภาวะปกติ พัดลมไฟฟ้าก็จะตัดไป และจะทำงานได้เองอีก ตามความดันของน้ำยาแอร์ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง สลับกันไปแบบนี้จนกระทั่งดับเครื่องยนต์  เห็นไหมครับว่าพัดลมไฟฟ้าของนังอ้วนไม่ได้ไปรับความร้อนจากระบบน้ำหล่อเย็นเลย เพียงแต่ไปรับแรงดันน้ำยาแอร์จากระบบแอร์มาตัดต่อระบบโดยใช้ pressure switch เป็นตัวตัดต่อเท่านั้น ถามจริง ๆ เถอะว่าน้ำยาแอร์ในระบบแอร์ของนังอ้วนนั้นน่ะเขาเติมกันอย่างไร เท่าไร บางคนตอบว่า ด้าน hi ต้อง 230 psi เกินไม่ได้เดี๋ยวระเบิด  ที่จริงแล้วไม่ได้เป็นแบบนั้นแต่จะเติมแบบนั้นก็ไม่ถือว่าผิดกติการ์ โดยปกติการเติมน้ำยาแอร์ของนังอ้วนนั้นทางโรงงานผู้ผลิตเขาให้เติมโดยใช้เครื่องชั่งครับ โดยปริมาณในการเติมหลังจาก ทำการ vac ระบบแล้วจะอยู่ที่  1.25 kg บวกลบครับ ถ้าเปิดฝากระโปรงหน้าดูให้ดีจะมีแผ่น plate สีเหลืองระบุเรื่องน้ำยาอยู่ว่าให้เติม 134a เท่านั้น ทำไมเขาถึงต้อง strick เรื่องน้ำยาแอร์ถึงขนาดนั้น ก็นี่แหละครับด้วยเหตุและผลตามข้างบนที่กล่าวมาแล้วนี่แหละ และให้ระวังเสมอว่าการเติมน้ำยาแอร์โดยการวัดดูแรงดันนั้นช่างเขาไม่กล้าเติมเกิน 230 psi แน่ ๆ ไม่เชื่อลองดูสิ เขาจะตอบทันทีว่ากลัวบึมครับ ทางที่ดีควรหาร้านที่มีเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยหน่อยก็มีอยู่ไม่น้อย ส่วนเครื่องที่เคยใช้กันอยู่ก็น่าจะเป็นยี่ห้อ robin ครับ มีทั้งดูดน้ำยานำมาฟอกกลับมาใช้ใหม่ vac ระบบ และเติมระบบ ทั้งหมดทำงานโดยปลายนิ้วสัมผัสครับ แม่นยำและแน่นอนครับ
บันทึกการเข้า

พี่คนนี้นั้นมีแต่ให้...และ...ให้
คนรักษ์เร้นจ์
Administrator
Hero Member
*****
กระทู้: 553


รู้จริง..เรื่องเร้นจ์โรเวอร์


« ตอบ #23 เมื่อ: สิงหาคม 20, 2011, 08:41:51 PM »

     ยังครับยังมีอีกเยอะแยะมากมายเกี่ยวกับพัดลมไฟฟ้า ยังมีอีกหลาย ๆ คนที่ชอบแปลงพัดลมไฟฟ้าหน้าเครื่องรถยนต์ เขาใส่มาให้สองตัวแปลงซะเหลืออยู่ตัวเดียวเบ้อเริ่มเลยก็เป็นสีสันครับ ถ้าปัญหาไม่เกิดก็พอรับได้นะ แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งที่แปลงมาแล้วเข้าท่าเหมือนกันก็คือการนำเอาการตัดต่อพัดลมไฟฟ้าไปพ่วงอยู่กับระบบน้ำหล่อเย็นอันนี้เห็นด้วยครับ ถึงยังไงเสียพัดลมไฟฟ้าทำงานแน่ ๆ ครับ อันนี้เห็นด้วยครับ ความร้อนลดลงแน่ ๆ ถ้าพัดลมทำงาน ผิดกับระบบของเราที่ใช้แรงดันน้ำยาแอร์ เมื่อใดก็ตามเมื่อระบบแอร์มีการรั่วซึม หรือแรงดันในระบบไม่ได้ตาม spec แล้ว พัดลมไฟฟ้าไม่ทำงานแน่นอนครับ เมื่อพัดลมไฟฟ้าไม่ทำงาน รถติดอยู่ 2 - 3 ชั่วโมง ยังไงก็มีความร้อนสะสมเต็มที่ครับ แล้วท่อยางน้ำตัวบนก็จะเป่งพองถ้าท่อยางเส้นใดเส้นหนึ่งไม่แตก ฝาหม้อพักน้ำก็จะ blow แรงดันที่เกิน 140 bar ออกมาแล้วรถของท่านก็จะอยู่ในสถานะที่เรียกกันว่า overheat ครับ เราควรจะทำตัวยังไงหลังจากเจอกับเหตุการณ์แบบนี้ ไม่ต้องตกใจครับ ดับเครื่องยนต์เปิดฝากระโปรงหน้า นำรถเข้าข้างทาง เปิดไฟฉุกเฉิน ล็อครถ ถ้ายังไม่ได้ทานข้าวกลางวันหรือกาแฟ ควรเดินไปทานหรือหากาแฟดื่มสักครึ่งชั่วโมงเพื่อให้ความร้อนค่อย ๆ ลดลงไปเองตามธรรมชาติ เพราะว่าเราเปิดฝากระโปรงไว้ลมจากธรรมชาติจะพัดพาความร้อนออกไปจะช่วยระบายความร้อนจากห้องเครื่องได้เร็วยิ่งขึ้น  ไม่ควรเติมน้ำทันทีทันใดเพราะอะไรหรือครับ การนำน้ำที่อุณหภูมิประมาณ 37 องศา ไปเติมในหม้อพักน้ำซึ่งในขณะนั้นมีอุณหภูมิเกินกว่า 100 องศา คิดดูเอาเองก็แล้วกันครับว่าอะไรจะเกิดขึ้น ลองนึกถึงภาพที่เรานำกระป๋องนมไปเผาไฟให้ร้อนแล้วนำเอาออกมานำน้ำมาราดลงไปมันก็จะบุบบิบบู้บี้จนจำรูปร่างเดิมไม่ได้ และเนื่องจากเครื่องยนต์ของนังอ้วนนั้นไม่ใช่เหล็กหล่อ แต่ดันเป็นอลูมิเนียมทั้งเสื้อสูบและฝาสูบ เมื่อเติมน้ำเย็นลงไปก็จะทำให้ท่านงานใหญ่เข้าครับ ถึงกับต้องขี่หลังรถ slide กลับคงไม่ใช่บ้านแต่จะเป็นอู่ซ่อมรถแทนและก็จะเสียเงินมากโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เหตุการณ์นี้ส่วนมากแล้วจะเจอกับสภาพสตรีซะส่วนมาก เพราะตอนที่คนรักษ์เร้นจ์อยู่ที่ศูนย์บริการจะเจอะเจอประจำ ดังนั้นทางที่ดีแล้วพอเครื่องยนต์เย็นตัวสู่อุณหภูมิปกติแล้วเราจึงควรเติมน้ำ และทำการไล่ลมน้ำตามกระบวนการก็จะทำให้ท่านสามารถนำรถไปต่อได้โดยไม่มีส่วนใดชำรุดเสียหาย ไม่เชื่อก็ลองทำดูครับ ดีกว่าเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ตั้งเยอะครับเพราะมันเสียหมากกะตังค์ครั้บ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 20, 2011, 08:45:57 PM โดย คนรักษ์เร้นจ์ » บันทึกการเข้า

พี่คนนี้นั้นมีแต่ให้...และ...ให้
คนรักษ์เร้นจ์
Administrator
Hero Member
*****
กระทู้: 553


รู้จริง..เรื่องเร้นจ์โรเวอร์


« ตอบ #24 เมื่อ: สิงหาคม 20, 2011, 08:49:28 PM »

     ยิ่งเขียนยิ่งสนุกครับก็ยังเหลืออยู่อีกหนึ่งตัวสำหรับเรื่องความร้อน นั่นก็คือพัดลมหน้าเครื่องยนต์ ตัวใหญ่ ตัวนี้ก็สำคัญไม่น้อยเหมือนกันเพราะมันจะมีอุปกรณ์อีกตัวหนึ่งที่เรียกว่า viscous coupling  ไอ้เจ้าชื่อประหลาดนี้มีหน้าที่อะไรหรือทำไมมันถึงได้มีความสำคัยเกี่ยวกับความร้อนของเครื่องยนต์มากมาย ขอโทษครับงานเข้าเดี๋ยวกลับมาครับ
บันทึกการเข้า

พี่คนนี้นั้นมีแต่ให้...และ...ให้
คนรักษ์เร้นจ์
Administrator
Hero Member
*****
กระทู้: 553


รู้จริง..เรื่องเร้นจ์โรเวอร์


« ตอบ #25 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2011, 09:25:13 PM »

     ต้องขออภัยครับพอดีมีงานต้องไปเยี่ยมสมาชิกที่แม่สายมา เพิ่งจะำกลับมาเขียนต่อในเรื่อง viscous coupling ตัวนี้มันทำหน้าที่อะไรกันแน่ทำไมถึงได้มีความสำคัญมากนัก ถุ้ามองดูกันเผิน ๆ ไปแล้วก็เป็นเพียงตัวจับใบพัดลมหน้าเครื่องเท่านั้น ถ้าจะอธิบายกันในเชิงลึกแลัวล่ะก็จะเข้าใจยากมากสำหรับเพื่อนสมาิชิกเอาเป็นเพียงให้เข้าใจง่าย ๆ ว่ามีเอาไว้เพื่อเวลาเครื่องยนต์ร้อนขึ้นไอ้เจ้าตัวนี้จะทำให้รอบของใบพัดหน้าเครื่องยนต์กับตัวเครื่องยนต์หมุนไม่เท่ากัน เพราะในเจ้า่ตัวนี้นั้นจะมีน้ำมันใส่เอาไว้และมีวาล์วเปิด ปิดได้เมื่อเวลาเครื่องยนต์ร้อนขึ้นซึ่งก็จะทำให้เกิดความหนืดภายในตัวเองก็จะทำให้ใบพัดลมหน้าเครื่องหมุนได้เร็วขึ้นกว่าปกติ ซึ่งถ้าความเร็วรอบเดินเบาและความร้อนปกติแล้วเจ้าตัวนี้จะไม่ทำงานก็จะหมุนช้า แต่พอเร่งรอบสูงขึ้นเมื่อความร้อนสูงเจ้าตัวนี้ก็จะทำงานทำให้ความร้อนลดลง ถ้าจะทดสอบเรื่องความร้อนก็ทำได้ง่าย ๆด้วยตัวท่านเองในขณะขับรถครับ เวลาความร้อนเริ่มขึ้นจากปกติเข็มจะอยู่ที่เที่ยงตรง และเริ่มไปที่บ่ายโมงไปเรื่อย ๆ อันดับแรกให้ปิดสวิสช์แอร์ หลังจากนั้นให้เร่งรอบเครื่องยนต์ คงที่ที่ 2000 รอบต่อนาทีค้างไว้และสังเกตดูเข็มความร้อนว่าลงหรือไม่ ถ้าลงมาอยู่ที่เที่ยงตรงก็เปิดแอร์แล้วก็วิ่งต่อไป ถ้าเ่ข็มความร้อนขยับขึ้นไปอีกก็ทำแบบนี้อีกสลับกันไป ก็จะทำให้ความร้อนสะสมไม่เกิดขึ้นอีก  ดังนั้นไอ้เจ้าตัว  viscous coupling ตัวนี้ถ้าเสื่อมสภาพหรือแรงดันรั่วก็สมควรที่จะเปลี่ยนใหม่ทันที หรือบางครั้งไม่รั่วแต่เจ้าตัว sensor ความร้อนที่ติดตั้งอยู่ที่ตัวของมันเกิดไม่ทำงานขึ้นมาก็จะไม่สามารถ control ตัววาล์วเปิดปิดน้ำมันได้  คงจะเข้าใจได้บ้างที่เขียนมาก็เพราะมีบางท่านนั้นพอเจ้า viscous coupling ตัวนี้รั่วก็เติมน้ำมันลงไปใหม่ หรือไม่ก็ใช้น๊อตยึดให้อยู่กับที่ไปเลย ถามว่าถูกต้องหรือไม่ ไม่ถูกต้องตามหลักการและไม่สมควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะท่านจะทำให้เจ้าปั๊มน้ำที่ยึดใบพัดอยู่ชำรุดเสียหายเร็วกว่าปกติ และจะมีเสียงดังมากกว่าปกติ  ตัวเครื่องยนต์เองก็จะมีปัญหาไม่รู้จักจบเหมือนกัน ทางที่ดีแล้วควรจะตรวจสอบให้ละเอียดน่าจะดีเสียกว่า ตัวใบพัดลมหน้าเครื่องก็เหมือนกันควรจะตรวจสอบความแข็งแรงของใบพัดลมว่ามีแตกร้าวหรือผุกร่อนประการใด เพราะว่ามีเพื่อนสมาชิกหลาย ๆ ท่านที่ขับรถไปดี ๆ อยู่ ๆ ก็ได้ยินเสียงดังในห้องเครื่องยนต์แรงมาก แล้วก็จอดรถน้ำหล่อเย็นในระบบหล่อเย็นไหลนองพื้นควันพุ่งออกมา พอจอดรถได้ก็รีบเปิดฝากระโปรงรถ ตกใจแทบเป็นลม เพราะเห็นใบพัดลมแตกไปโดนหม้อน้ำ ท่อทางน้ำ ฝากระโปรงหน้าบุบ แค่นี้ก็งานเข้าหลายหมื่นอยู่ครับ ดังนั้น ควรจะตรวจสอบใบพัดลมหน้าเครื่องอยู่เสมอ ดีกว่าเสียเงินอีกหลายหมื่นบาทโดยไม่จำเป็น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 29, 2011, 09:47:26 PM โดย คนรักษ์เร้นจ์ » บันทึกการเข้า

พี่คนนี้นั้นมีแต่ให้...และ...ให้
คนรักษ์เร้นจ์
Administrator
Hero Member
*****
กระทู้: 553


รู้จริง..เรื่องเร้นจ์โรเวอร์


« ตอบ #26 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2011, 09:45:31 PM »

     และก็มีเรื่องทีแนะนำอีกสักหนึ่งเรื่องเกี่ยวกับพัดลมหน้าเครื่องยนต์ มีหลาย ๆ ท่านพอเกิดปัญหากับใบพัดลม หรือเจ้า viscous coupling ขึ้นมาก็ขอแปลงซะเลย แปลงกระบังลมหน้าใส่พัดลมไฟฟ้าตัวเบ้อเริ่มเข้าไปแทนที่ ต่อกระแสไฟฟ้า เข้าไปให้พัดลมไฟฟ้าทำงานทุกวินาทีขณะที่เ่ครื่องยนต์ทำงาน ถามว่าถูกต้องตามหลักการวิศวกรรมศาสตร์ที่ออกแบบมาหรือไม่ ทุก ๆ ท่านก็คงจะทราบคำตอบดีอยู่แล้วว่าไม่ถูกต้องแต่ก็ยังมีคนทำอยู่เพราะเพียงเพื่อประหยัดกับค่าอะหลั่ย ที่จะเปลี่ยนหรือเปลี่ยนไปโดยไม่ได้มีความคิดอะไร คิดแต่เพียงว่าประหยัดกะตังค์ดี แต่ถ้าคิดดูให้ดี ๆ แล้วในระยะยาวเกิดปัญหาตามมามากมาย ขอบอก หลาย ๆ เรื่อง  ตัวพัดลมเองก็ต้องเปลี่ยนบ่อย เดี๋ยวก็ดัง ระบบไฟฟ้าเองไฟก็ไม่พอใช้ในบางขณะเช่นในเวลากลางคืน  ไดชาร์จก็ทำงานหนักไม่ได้พักผ่อน แบตเตอรี่ก็ร้อนอยู่ตลอดเวลา ไม่นานก็เสื่อมสภาพรับรองไม่เกินปีแน่นอน รับรองได้เลยว่าอีกไม่นานก็คงจะเข้าข่ายระบบไฟฟ้าล้มเหลว ถ้าจะใช้นังอ้วนให้มีความสุขและสนุกกับเขาแล้วล่ะก็ขอแนะนำให้ใช้แบบเดิม ๆของเขานั่นแหละครับดีที่สุดแล้ว เห็นคนที่แปลงมาแล้วไม่จบมีมากมายผลสุดท้ายแปลงกลับมาไม่ได้ก็ขายทิ้งออกมา น่าเสียดายครับรถดี ๆ ขอฝากไว้ก็แล้วกันครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 29, 2011, 09:49:38 PM โดย คนรักษ์เร้นจ์ » บันทึกการเข้า

พี่คนนี้นั้นมีแต่ให้...และ...ให้
คนรักษ์เร้นจ์
Administrator
Hero Member
*****
กระทู้: 553


รู้จริง..เรื่องเร้นจ์โรเวอร์


« ตอบ #27 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2011, 10:02:58 PM »

    พูดถึงเรื่องความร้อนมาก็เกือบจะุึุถึงตอนจบแล้ว นึกขึ้นมาได้ว่าในระบบระบายความร้อนของนังอ้วนนั้นดันไปเกี่ยวข้องกับระบบแอร์ของนังอ้วนด้วยก็เลยคิดว่าจะคุยซะตอนนี้เลยน่าจะดีกว่าเพราะกว่าจะถึงระบบแอร์บางท่านคงจะลืมไปแล้ว ในระบบแอร์ของเรานั้น ในตู้แอร์จรีิง ๆ แล้วได้แบ่งออกเป็น 2 ห้องใหญ่ ๆ เรียกกันง่าย ๆ ว่าห้องร้อนกับห้องเย็น ห้องเย็นก็คือระบบแอร์ปกติของเรานั่นแหละ  ส่วนห้องร้อน หรือที่เรียกกันว่า heater นั้นก็รวมอยู่ด้วยกัน โดยตู้ heater นั้นจะอยู่ที่ด้านล่าง และการที่จะทำให้ heater ทำงานได้นั้นก็ต้องพึ่งพาน้ำหล่อเย็นมาทำให้ตัว heater นั้นร้อนอยู่ตลอดเวลา และเวลาจะใช้ก็ให้พัดลมเป่าออกมา heater จะใช้ในเมืองหนาว ส่วนในเมืองไทยก็จะใช้ในเวลาหนาวเหมือนกัน ส่วนมากแล้วเมื่อเวลาตู้ heater  รั่ว หรือภายในระบบรั่วซึม แตก ช่างก็จะทำการตัดระบบนี้ออกไปเพื่อจะได้ไม่ต้องซ่อมหรือเปลี่ยนอะหลั่ย โดยหารู้ไม่ว่า่แอร์ก็จะไม่เย็นไปด้วย บางท่านบอกว่าทำไมรถของเขาทำไมแอร์เย็นไม่ฉ่ำ ส่วนหนึ่งก็มาจากตรงนี้แหละครับถ้าจะให้ลึกแล้วเดี๋ยวเราจะไปคุยกันในเรื่อง air condition น่าจะดีกว่านะครับ
บันทึกการเข้า

พี่คนนี้นั้นมีแต่ให้...และ...ให้
คนรักษ์เร้นจ์
Administrator
Hero Member
*****
กระทู้: 553


รู้จริง..เรื่องเร้นจ์โรเวอร์


« ตอบ #28 เมื่อ: สิงหาคม 30, 2011, 08:31:49 PM »

     อันดับที่ 5 catalytic converter and heat shield

     เห็นจั่วหัวมาแบบนี้เพื่อนสมาชิกบางท่านก็คงจะงง ๆ อยู่เหมือนกันว่าไอ้เจ้าตัวกรองไอเสียนี่นะหรือที่จะทำให้เราปวดหัวได้ด้วย โดยประสบการณ์แล้วรับรองได้เลยว่าถ้าเจ้าตัวนี้มีปัญหาแล้วล่ะก็ รถทั้งคันก็ไม่เหลือครับ ฟังดูแล้วน่ากลัวยังไงก็ไม่รู้ บางคนบอกว่าพี่ปัญจะแกคงจะล้อเล่น ที่จริงแล้วมันเป็นความจริงเพราะหลาย ๆ ท่านก็ประสบกับตัวเองมาแล้ว ฉะนั้นอย่ามองข้ามสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ไป มิเช่นนั้นแล้วความเสียหายจะตามมา เรามาเข้าเรื่องกันก่อนดีกว่าว่าไอ้เจ้าตัวกรองไอเสียนี่นะ มันติดตั้งอยู่ส่วนใดของตัวรถ ถ้าจะพูดกันให้เข้าใจง่าย ๆ แล้วล่ะก็ มันอยู่ที่เท้าท่านทั้งเบาะหน้าซ้าย ขวา มันจะอยู่ใต้เท้าท่านพอดี และก็มีสองตัวด้วย เพราะว่าเครื่องยนต์ของเราเป็นตัววี ดังนั้นท่อ header จะทำออกมาสองด้าน ซ้ายและขวาและจะไปรวมกันอยู่ที่หม้อพักกลาง บริเ้วณกลาง ๆตัวรถด้านซ้าย และออกไปข้างหลังข้ามเพลาท้ายไปออกทางด้านหลังขวา จะมีหม้อพักท้ายอีกหนึ่งตัว หน้าที่ของไอ้เจ้า catalytic converter นั้นก็คงจะรู้ ๆ กันอยู่แล้วว่าทำหน้าที่กรองเอาแก๊สที่ออกมาจากห้องเผาไหม้ซึ่งเป็นคาร์บอนมอนน็อคไซด์ทำให้เป็นอากาศดีออกมา ในเจ้าตัวกรองไอเสียนี้ภายในจะประกอบด้วยรูเหมือนรังผึ้งเป็นจำนวนมาก  จะยึดเกาะติดอยู่กับผนังเหล็ก ถามว่าถ้ารถไม่มีเจ้าตัวนี้ได้หรือไม่ ตอบได้เลยว่าได้ครับ แต่ก็ไม่ดีสำหรับโลกของเรา
บันทึกการเข้า

พี่คนนี้นั้นมีแต่ให้...และ...ให้
คนรักษ์เร้นจ์
Administrator
Hero Member
*****
กระทู้: 553


รู้จริง..เรื่องเร้นจ์โรเวอร์


« ตอบ #29 เมื่อ: กันยายน 09, 2011, 09:18:56 PM »

     ส่วนไอ้เจ้าตัวกันความร้อนหรือheat shield ตัวนี้จะติดตั้งอยู่กับตัวรถด้านล่างทั้งซ้ายและขวา เจ้าตัวนี้หน้าที่ของมันก็บอกอยู่แล้ัวว่าตัวกันความร้อนจากท่อไอเสียไม่ให้ขึ้นมาสู่ห้องโดยสาร ถ้ารถของท่านใดไม่มีเจ้าตัวนี้อยู่ถ้าลองถอดรองเท้าออกแล้วเอาเท้าวางลงไปบนพรมจะรู้สึกอุ่น ๆ ดังนั้นถ้าสำรวจดูแลัวว่าตัวนี้ัไม่มีก็ควรจะหามาใส่เสีย จะเป็นของแท้ห้างหรือของที่ทำขึ้นมาก็ใช้ได้เหมือนกัน ส่วนที่มีอยู่แล้วก็ควรจะตรวจสภาพดูว่ามียุ่ยหรือมีสภาพชำรุดบ้างหรือไม่ ถ้าชำรุดให้รีบเปลี่ยนทันที เพราะอะไรหรือครับ อันนนี้เกี่ยวข้องกับเจ้าตัวกรองไอเสียโดยตรงครับ คงต้องย้อนกลับไปที่ตัวกรองไอเสียครับ ถ้านับอายุของการใช้งานมาก็ประมาณ 15 ปีกว่า ๆ แล้วครับ ดังนั้นวัสดุหรือตัวกรองข้างในอาจจะชำรุด หรือแตกหัก หรือไม่ก็ตันได้ รถบางคันวิ่งไม่ค่อยออกก็ต้องลองตรวจเช็คตัวนี้ด้วยครับ การเช็คก็ไม่ยากหรอกครับ ติดเครื่องยนต์ให้ได้อุณณหภูมิทำงานจากนั้นเร่งเครื่องยนต์อยู่กับที่ หลังจากนั้นลองสังเกดดูที่ท่อร่วมไอเสีย ดูว่าร้อนแดงเป็นไฟหรือไม่ถ้าร้อนแดงเป็นไฟจะอันตรายมากครับ ส่วนมากแล้วถ้าไม่สังเกตุจะไม่ค่อยรู้ครับ บางท่านบอกว่าขับรถไปแล้วได้กลิ่นอะไรไหม้ ๆในห้องเครื่อง ก็ต้องลองตรวจเช็คที่ตัวนี้แหละครับ ถ้าตัวกรองไอเสียตันก็ควรจะเปลี่ยน จะเป็นของแท้หรือของเทียบ ก็ใช้ได้เหมือนกัน หรือจะต่อตรงตัดทิ้งไปเลยก็ได้ครับแต่จะมีกลิ่นไอเสียที่ท้ายรถมากหน่อย ทำไมต้องดูตัวนี้หรือครับก็มาเข้าประเด็นเลยครับ ถ้าเจ้าตัวกรองไอเสียตัวนี้หมดสภาพตันก็จะทำให้ไอเสียที่คายทิ้งออกมาจากห้องเผาไหม้อั้นไม่สามารถระบายออกสู่ภายนอกได้ ก็จะทำให้ท่อไอเสียร้อนแดงการร้อนแดงนี้จะส่งผลทำให้ แผ่นกันความร้อนห้องเครื่องซึ่งติดอยู่กับห้องเครื่องซึ่งเป็นฉนวนที่ติดไฟได้ง่าย ไฟจะไม่ลุกขึ้นทีเดียวแต่จะค่อย ๆ คุขึ้นมาจนกระทั่งติดไฟทั้งหมดนั่นแหละครับถึงจะรู้ว่าไฟไหม้ห้องเครื่อง เมื่อถึงเวลานั้นแล้วก็คงไม่ทันแล้วครับ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่าางยิ่งที่จะต้องตรวจตราเจ้าตัวกรองไอเสียและแผ่นกันความร้อนทั้งสองอย่างนี้อยู่เสมอ เพื่อจะได้ไม่ตกอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินครับ
บันทึกการเข้า

พี่คนนี้นั้นมีแต่ให้...และ...ให้
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Hosting by THAISITE.net Valid XHTML 1.0! Valid CSS!